ความหมายความสำคัญและประโยชน์ของของเทคโนโลยีการสอน


กลุ่มที่ 1

1. ความหมายความสำคัญและประโยชน์ของของเทคโนโลยีการสอน
       1.1 ความหมายของเทคโนโลยีการสอน
              1.1.1 ความหมายของเทคโนโลยี  (Technology)  เทคโนโลยีตามพจนานุกรมได้ให้รากศัพท์ของคำ  “Technology”  ไว้ว่า  Technology  มาจากคำภาษากรีก  tekhnologia  หมายถึง  การกระทำอย่างเป็นระบบของศิลปะโดยมาจากคำว่า  tekhne  ( art , skill )+o+logia (logy )  และได้ให้ความหมายไว้  3 ประเด็น  คือ
                     1. การประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิชาเฉพาะ  เช่น  เทคโนโลยีทางการแพทย์   เป็นสมรรถนะที่เอื้อประโยชน์โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงปฏิบัติ  เช่น  เทคโนโลยีเพื่อช่วยประหยัดน้ำมันของรถยนต์
                   2. การกระทำเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการใช้กระบวนการ  วิธีการ  หรือความรู้ด้านเทคนิค  เช่น  เทคโนโลยีใหม่ในการเก็บข้อมูล
                      3. ลักษณะพิเศษของขอบเขตสาขาวิชาเฉพาะ  เช่น  เทคโนโลยีการศึกษาสมาคมการศึกษาเทคโนโลยีระหว่างประเทศ  (International  Technology  Education  Association  :  ITEA)  ได้ให้ความหมายของ  International  ไว้  2  ประเด็น  ได้แก่
                                3.1 นวัตกรรมของมนุษย์ในการกระทำซึ่งรวมถึงการก่อเกิดความรู้และกระบวนการในการพัฒนาระบบเพื่อการแก้ปัญหา  และขยายขีดความสามารถของมนุษย์
                                3.2 นวัตกรรมความเปลี่ยนแปลงหรือการดัดแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพื่อสนองความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ ความหมายตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  (2542: 538)  ว่าเทคโนโลยีเป็น  วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
       ดังนั้นจากความหมายที่กล่าวมาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่าดังนี้  เทคโนโลยีเป็นการนำแนวคิด  หลักการ  เทคนิค  ความรู้  ระเบียบวิธี  กระบวนการ  ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้เพื่อขยายขีดความสามารถของมนุษย์ช่วยให้การทำงานดีขึ้น  และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานนั้นให้มีมากยิ่งขึ้น
              1.1.2 ความหมายของการสอน   (Instruction) 
                      1. การสอน  (Instruction)  คือ  การกระทำทั้งหลายที่เป็นระบบของครูเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
                      2. การสอน  (Instruction)  คือ  การถ่ายทอดความรู้จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง  การสอนเป็นการสร้าง  การใช้  และปรับปรุงยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของการสอนในห้องเรียน
                      3. การสอน  (Instruction)  คือ  การกระทำที่เป็นระบบของครูเพื่อสร้างภาวะอันจะก่อให้เกิดความสะดวกแก่การเรียนรู้ของผู้เรียน
       โดยสรุปแล้วการสอน  หมายถึง  เป็นการกระทำที่เป็นระบบของครูเพื่อสร้างภาวะอันจะก่อให้เกิดความสะดวกแก่การเรียนรู้ของผู้เรียน
              1.1.3 ความหมายของเทคโนโลยีการสอน   (Instructional  Technology ) 
                            1. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  หมายถึง  ระบบและวิธีการในการประยุกต์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์และเทคนิควิธีการที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้  เช่น  พฤติกรรม (Behaviorism)  พุทธิปัญญานิยม  (Cognitivism)  และคอนสตรัคติวิสต์  (Constructivism)  นำมาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน
                         2. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  หมายถึง  การออกแบบ  การพัฒนาการใช้และการประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบโดยยึดจุดประสงค์เฉพาะ  เพื่อให้เกิดผลเป็นการสอนที่มีประสิทธิภาพ
                         3. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  หมายถึง  ระบบหรือเทคนิคที่ประยุกต์มาจากพฤติกรรม  ความรู้ความสามารถและทฤษฎีต่างๆ  เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเรียนการสอน  เทคโนโลยีการเรียนการสอนจึงมีความหมายเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์หรือการใช้เครื่องมือเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้
                         4. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  หมายถึง  เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา  ซึ่งหมายถึง  การเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่  จึงเป็นเรื่องของเทคโนโลยีทางการเรียนการสอน
                         5. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เฉพาะในด้านการเรียนการสอนจึงเรียกว่า  " เทคโนโลยีการสอน "  ซึ่งมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในทุกระดับของการศึกษาและรวมไปถึงในวงการทหารและวงการธุรกิจอุตสาหกรรมก็มีการใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรมด้วยเช่นกัน  ดังนั้นเทคโนโลยีการสอนจึงเป็นการรวมสื่อการสอนทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์ วิธีการที่มีระบบเพื่อการออกแบบการสอนและหลักการด้านจิตวิทยา  สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพรวมถึงการสื่อสารของมนุษย์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน  เช่น  การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การใช้ดาวเทียมเพื่อถ่ายทอดสดการสอนจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง เป็นต้น
       กล่าวโดยสรุปแล้วเทคโนโลยีการสอนเป็นการจัดการเกี่ยวกับการสอนที่มีระบบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น   เทคโนโลยีการสอน  =  การออกแบบการสอน  +  การพัฒนาการสอน

       1.2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน
              เทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน  (Educational  Technology  and  Instructional Technology)  (กิตติคุณ ชลวิถีทศพร แสงสว่าง, 2551)  คำ  2  คำนี้มีความหมายแตกต่างกันและคล้ายคลึงกันในบางส่วน  ดังนั้นเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างเด่นชัดมากขึ้นจึงขอนำเสนอการเปรียบเทียบเป็นแนวคิด ดังนี้
ตารางที่  1  การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการศึกษา
Educational Technology
เทคโนโลยีการสอน
Instructional Technology
1. เป็นกระบวนการทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติสำหรับดำเนินการจัดการเกี่ยวกับการศึกษาในระบบใหญ่ด้านการบริหาร  การบริการและการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ของมนุษย์
2. เป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่ และแก้ปัญหาของพัฒนาการด้านการศึกษา (Educational Development Functions) เกี่ยวกับการวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมิน การสนับสนุน การใช้และเผยแพร่การศึกษา
3. กระบวนการกำหนดบทบาทหน้าที่การจัดการด้านการศึกษา (Educational Management Functions)  เป็นทางการมีระเบียบ แบบแผนปฏิบัติอย่างเป็นระบบ เช่น  การกำหนดนโยบายแผนการศึกษางบประมาณสนับสนุน  ฯลฯ  ในองค์กรที่เกี่ยวกับการศึกษา
4. เป็นระบบที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบและสนับสนุนของฝ่ายบริหารในองค์กร


1. เป็นส่วนประกอบย่อยๆส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์
2. เป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่และแก้ปัญหาของพัฒนาการด้านการสอน  (Instructional  Development Functions)  เกี่ยวกับการวิจัย  การออกแบบ  การผลิต การประเมิน  การสนับสนุน  การใช้และการเผยแพร่ การเรียนการสอน
3. กระบวนการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการจัดการด้านการสอน (Instructional Managements Function) ในองค์กร และการสอนของผู้สอนแต่ละคน เกี่ยวกับการว่างแผนการสอน กำหนดสื่อ กิจกรรม การวัดประเมินผล และออกแบบระบบการสอน
4. เป็นส่วนหนึ่งของระบบอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติการคือผู้สอนแต่ละคน
5.เป็นการใช้เทคโนโลยีในการถ่ายทอดเนื้อหาโดยมีกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

ตารางแสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน
(ที่มา  :  http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%ABA7%E0%B8%)

1.2.1 สรุปความเหมือน และความแตกต่างของเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน  
                                1. ความเหมือน  เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทฤษฎีและปฏิบัติมาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและศักยภาพของมนุษย์ให้สูงขึ้นและมีทรัพยากรในการปฏิบัติการเหมือนกันคือ  มีบุคลากร  วัสดุ  อุปกรณ์  เทคนิควิธีการ  ความรู้  และสิ่งอำนวยความสะดวก      
                                2. ความแตกต่าง  แตกต่างกันที่จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีการศึกษานำมาใช้ในการศึกษา  ส่วนเทคโนโลยีการสอนนำมาใช้แก้ปัญหาในการเรียนการสอน  ซึ่งเทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบใหญ่ที่นำมาใช้ในการบริหาร  การจัดการและการเรียนการสอนส่วนเทคโนโลยีการสอนมุ่งเฉพาะ การสอนเท่านั้น และเป็นเพียงส่วนประกอบย่อยของเทคโนโลยีการศึกษา  นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้สนับสนุน  แต่เทคโนโลยีการสอนเป็นบทบาทหน้าที่  ความรับผิดชอบของผู้สอนในการบริหารจัดการเรื่องการสอนเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
       การพิจารณาขอบข่ายของการประเมินการศึกษาให้ครอบคลุมนั้น สามารถใช้ทฤษฎีเชิงระบบ มาช่วยกำหนดแนวทางการประเมินในลักษณะของปัจจัยนำเข้า  (Inputs)  กระบวนการ  (Processes)  และผลผลิต (Outputs) รวมทั้งใช้ส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ บริบท (Contexts) ผลลัพธ์ กับผลกระทบ (Outcomes/Impacts)  และข้อมูลย้อนกลับ  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความพร้อมสำหรับการเรียนรู้จากการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  โดยมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อภาคการศึกษาหรือที่เรียกว่า  เทคโนโลยีการศึกษา  (Education Technology)  ซึ่งเน้นการให้ความสะดวกในด้านการบริหารจัดการ  การบริการและการจัดการเรียนการสอนหลักการประเมินนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ 
       1.3 ความสำคัญของเทคโนโลยีการสอน  การนำเอาเทคโนโลยีการสอนมาใช้นั้นส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
                                1. ปัญหาผู้สอน
                                2. ปัญหาผู้เรียน
                                3. ปัญหาด้านเนื้อหา
                                4. ปัญหาด้านเวลา
                                5. ปัญหาเรื่องระยะทาง
       นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย
       คณะกรรมการเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา  (The  Commission  on Instruction  Technology)  สรุปว่าเทคโนโลยีการสอนมีความสำคัญต่อการศึกษา  ดังนี้
                            1. เทคโนโลยีการสอน  สามารถทำให้การเรียนการสอน  การจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น กล่าวคือ  การนำเทคโนโลยีการสอนเข้ามาใช้ในการศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางขึ้น  เรียนได้เร็วขึ้น  ได้เห็นหรือสัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์และยังทาให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น
                           2. เทคโนโลยีการสอน  สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ในเรื่องนี้จะพบว่าในการนำเอาเทคโนโลยีการสอนเข้ามาใช้กับการศึกษานั้น ผู้เรียนจะมีอิสระในการ เสาะแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบทั้งแก่ตนเองและสังคมมากขึ้น ดังนั้น การนำเทคโนโลยีการเรียนการสอนเข้ามาใช้กับการศึกษาจึงเปรียบเสมือนการเปิดทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถ ของเขา สนองเรื่องความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี
                                            3. เทคโนโลยีการสอน  สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าในปัจจุบันวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการหนึ่งที่สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ทุกวงการ  การนำเทคโนโลยีการสอนเข้ามาใช้กับการศึกษาจึงทำให้การจัดการศึกษามีระบบมากขึ้น  มีการค้นคว้าวิจัยทดลองและค้นพบวิธีการแนวทางใหม่ๆ  อยู่เสมอและสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงทำให้การจัดการศึกษา  ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของระบบสังคมเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
                           4. เทคโนโลยีสอน  ช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น  สิ่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสอนและการจัดการศึกษาก็คือสื่อ  ซึ่งนับวันจะพัฒนาตัวของมันเองให้มีคุณค่าและสะดวกสบายต่อการใช้มากขึ้น  สื่อเป็นผลผลิตอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพลังของสื่อมีมากเพียงใดก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว  ดังนั้นการนาสื่อการศึกษาอันเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษามาใช้จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการจัดการนั้นจะมีพลังมากขึ้น
                           5. เทคโนโลยีการสอน สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม  ในการศึกษามิได้จากัดเฉพาะในด้านความรู้เท่านั้นแต่ยังปลูกฝังทักษะและเจตคติอันดีงามแก่ผู้ศึกษาด้วยการนำเทคโนโลยีการสอนมาใช้กับการศึกษาทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางขึ้น  ได้เห็นสภาพความเป็นจริงในสังคมด้วยตาของเขาเองเป็นการนำโลกภายนอกเข้าสู่ห้องเรียนทาให้ช่องว่างระหว่างโรงเรียนกับสังคมลดน้อยลง เช่น  การศึกษาผ่านทางโทรทัศน์  ภาพยนตร์  สไลด์  เป็นต้น
                                                6. เทคโนโลยีการสอน ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา  การนำเทคโนโลยีการสอนมาใช้กับการศึกษาทำให้โอกาสของทุกคนในการเข้ารับการศึกษามีมากขึ้น  เช่น  การจัดการศึกษาแบบปกติ (Formal  Education)  การจัดการศึกษานอกแบบ  (Informal Education)  การจัดการศึกษาพิเศษแก่คนพิการและอื่นๆทำให้วิถีทางการเข้าสู่การศึกษานั้นเป็นไปอย่างอิสรเสรีและกว้างขวาง  เพื่อความก้าวหน้าของแต่ละบุคคลตามความสนใจ ความต้องการและความสามารถของเขา
1.4 ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการสอน  ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็นด้านๆดังนี้
              1.4.1 ประโยชน์สำหรับผู้เรียน  ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
                     1. ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
                     2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความ สามารถของตนเอง
                     3. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
                     4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
                     5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา  ทุกสถานที่
                     6. ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                     7. ลดเวลาในการเรียนรู้  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
                     8. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
                     9. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
                     10. ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
              1.4.2 ประโยชน์สำหรับผู้สอน  ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
                     1. ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
                     2. ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
                     3. ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
                     4. ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
                     5. ลดเวลาในการสอนน้อยลง
                     6. สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
                     7. ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทาเอง
                     8. ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
                     9. ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
                     10. ง่ายในการประเมินเพราะการใช้เทคโนโลยีมุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย
              1.4.3 ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์
                     1. สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
                     2. ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
                     3. สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
                     4. ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
                     5. ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
                     6. สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน
       เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง  ทำให้การเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย  ห้องเรียนสมัยใหม่มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์  (Video Projector)  มีเครื่องคอมพิวเตอร์  มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆรูปแบบของสื่อการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน  ก็มีหลากหลายขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น  มัลติมีเดีย  อิเล็กทรอนิกส์  วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  ระบบวิดีโอออนดีมานด์  ไฮเปอร์เท็กซ์ คอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
       2.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน  ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน  ซีเอไอ  ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า  Computer-Assisted  Instruction  หรือเรียกย่อๆว่าซีเอไอ  (CAI)  การจัดโปรแกรมการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม  (Multimedia)  หมายถึง  นำเสนอได้ทั้งภาพ  ข้อความ  เสียง ภาพเคลื่อนไหว  ฯลฯ  โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอดจนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้  บทเรียนได้อย่างถูกต้องและเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

              2.1.1 ลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นบทเรียนที่ช่วยการเรียนการสอนและมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยจัดบทเรียนให้เป็นระบบและเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน  โดยมีลักษณะสำคัญๆ ดังนี้
                     1. เริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้จัดเนื้อหาเรียงไปตามลำดับจากง่ายไปสู่ยาก
                     2. การเพิ่มเนื้อหาให้กับผู้เรียนต้องค่อยๆเพิ่มทีละน้อยและมีสาระใหม่ไม่มากนักนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเข้าใจ
                     3. แต่ละเนื้อหาต้องมีการแนะนำความรู้ใหม่เพียงอย่างเดียวไม่ให้ที่ละมากๆจนทำให้ผู้เรียนสับสน
                     4. ในระหว่างเรียนต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับบทเรียน  เช่น  มีคำถามมีการตอบ  มีทำแบบฝึกหัด  แบบทดสอบซึ่งทำให้ผู้เรียนสนใจอยู่กับการเรียนไม่น่าเบื่อหน่าย
                     5. การตอบคำถามที่ผิดต้องมีคำแนะนำหรือทบทวนบทเรียนเก่าอีกครั้งหรือมีการเฉลย  ซึ่งเป็นการเพิ่มเนื้อหาไปด้วย  ถ้าเป็นคำตอบที่ถูกผู้เรียนได้รับคำชมเชยและได้เรียนบทเรียนต่อไปที่ก้าวหน้าขึ้น
                     6. ในการเสนอบทเรียนต้องมีการสรุปท้ายบทเรียนแต่ละบทเรียนช่วยให้เกิดการวัดผลได้ด้วยตนเอง
                     7. ทุกบทเรียนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้ชัดเจน ซึ่งช่วยให้แบ่งเนื้อหาตามลำดับได้ดี
              2.1.2 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอนมีประโยชน์หลายประการดังนี้
                            1. ทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น
            2. ทำให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้หลายแบบตามความถนัดของแต่ละบุคคล
                            3. ทำให้ไม่เปลืองสมองในการท่องจำสิ่งที่ไม่ควรจะต้องจำใช้สมองในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจแทน
                            4. ทำให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
                            5. ทำให้ผู้เรียนมีอิสรภาพในการเรียน ไม่ต้องคอยครู อาจารย์ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาที่ต้องการ
            6. ทำให้ผู้เรียนสามารถสรุปหลักการ เนื้อหา สาระของบทเรียนแต่ละบทเรียนได้
              2.1.3 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำมาใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ นักวิชาการและนักการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้จัดแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้ดังนี้
                            1. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการสอน  (Tutoring)  เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นในลักษณะของบทเรียนที่ลอกเลียนแบบการสอนของครู  กล่าวคือ  มีบทนำ  มีคำบรรยายซึ่งประกอบด้วยทฤษฎี กฎเกณฑ์  แนวคิดที่สอนหลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาแล้วก็มีคำถาม  เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนมีการป้อนกลับตลอดจนมีการเสริมแรงและสามารถให้นักเรียนย้อนกลับไปเรียนบทเรียนเดิมได้ หรือข้ามบทเรียนที่ได้เรียนรู้  แล้วได้นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกการเรียนของนักเรียนไว้ได้ เพื่อให้ครูนำข้อมูลการเรียนของแต่ละคนกลับไปแก้ไขนักเรียนบางคนได้
                            2. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการฝึก  (Drill  and  Practice)  แบบฝึกส่วนใหญ่ใช้เพื่อเสริมทักษะเมื่อครูได้สอนบทเรียนบางอย่างไปแล้ว  จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดกับคอมพิวเตอร์เพื่อวัดระดับหรือให้ฝึกจนถึงระดับที่ยอมรับได้  บทเรียนประเภทนี้จึงประกอบด้วยคำถามและคำตอบ  การเตรียมคำถามต้องเตรียมไว้มากๆ  ซึ่งผู้เรียนควรได้สุ่มขึ้นมาฝึกเองได้ สิ่งสำคัญของการฝึกคือต้องกระตุ้นให้นักเรียนอยากทำและตื่นเต้นกับการทำแบบฝึกหัดนั้น  ซึ่งอาจมีภาพเคลื่อนไหว  คำพูดโต้ตอบมีการแข่งขัน  เช่น  จับเวลาหรือสร้างรูปแบบที่ท้าทายความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหา
                            3. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง  (Simulation)  โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้จำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในชีวิตจริงของนักเรียนโดยมีเหตุการณ์สมมติต่างๆอยู่ในโปรแกรมและผู้เรียนสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง  หรือจัดกระทำได้สามารถมีการโต้ตอบและมีวัตแปรหรือทางเลือกหลายๆทาง  การสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เมื่อสถานการณ์จริงไม่สามารถทำได้  เช่น  การเคลื่อนที่ของลูกปืน  การเดินทางของแสงการหักเหของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการทำปฏิกิริยาทางเคมีที่อาจเกิดการระเบิดขึ้นหรือการเจริญเติบโตนี้ใช้เวลานานหลายวันการใช้คอมพิวเตอร์  สร้างสถานการณ์จำลองจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
                            4. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อเป็นเกมในการเรียนการสอน  โปรแกรมประเภทนี้นับเป็นแบบพิเศษของแบบจำลองสถานการณ์  โดยมีการแข่งขันเป็นหลักซึ่งสามารถเล่นได้คนเดียวหรือหลายคน ก่อให้เกิดการแข่งขันและร่วมมือกัน  ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากโดยการเพิ่มคุณค่าทางการศึกษาจุดมุ่งหมาย  เนื้อหาและกระบวนการที่เหมาะสม
                            5. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการทดสอบ  เป็นโปรแกรมที่ใช้รวมแบบทดสอบไว้และสุ่มข้อสอบตามจำนวนที่ต้องการ  โดยที่ข้อสอบเหล่านั้นผ่านการสร้างมาอย่างดีมีความเชื่อถือได้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โปรแกรมมีการตรวจข้อสอบให้คะแนนวิเคราะห์และประเมินผลให้ผู้สอบได้ทราบทันที
                            6. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการไต่ถามข้อมูล  (Inguiry)  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อเท็จจริงหรือข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในตัวคอมพิวเตอร์แบบนี้จะมีแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งสามารถแสดงได้ทันทีเมื่อผู้เรียนต้องการด้วยระบบง่ายๆ  ที่ผู้เรียนสามารถทำได้เพียงแต่กดหมายเลข หรือใส่รหัส  ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลที่ต้องการไต่ถามได้ตามต้องการนอกจากนั้นยังนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในลักษณะอื่นๆ  เช่น การนำเสนอประกอบการสอน  การใช้เพื่อฝึกแก้ปัญหาการสาธิต เป็นต้น
       2.2 การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก  เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม  การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนเป็นเทคโนโลยีสูงสุดมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน  ให้เกิดการเรียนรู้จากการสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ  ได้แก่  การเรียนการสอนผ่านเว็บ  (Web-based Instruction)  การฝึกอบรมผ่านเว็บ  (Web-based  Trainning)  การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction)  การฝึกอบรมผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ  (www-based Trainning)  เป็นต้น
              2.2.1 ความหมาย  การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักเป็นการประยุกต์ใช้ยุทธวิธีการสอนด้านพุทธพิสัย  ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้และการเรียนแบบร่วมมือกัน  เนื่องจากการเรียนแบบนี้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนด้วยตนเองเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และเรียนด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักเป็นการจำลองสถานการณ์การเรียนการสอนในห้องเรียนในรูปของสืบค้นองค์ความรู้จากเว็บ หรืออาจเรียกว่า อีเลิร์นนิ่ง  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอีเอ็ดยูเคชั่นและเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ช
             
             2.2.2 องค์ประกอบของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
                            1. ระบบการเรียนการสอน
            2. ความเป็นเงื่อนไข
            3. การสื่อสารและกิจกรรม
            4. สิ่งนำทางการค้นคว้า
              2.2.3 คุณค่าทางการศึกษา  ของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
                            1. ช่วยเปิดโลกกว้างทางการศึกษา  แหล่งวิทยาการความรู้ต่างๆ  ที่มีอยู่ทั่วโลกตลอดจนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้ทั่วโลก
            2. ค้นคว้าข้อมูลข่าวสารได้มากมายหลากหลายในลักษณะที่เป็นสื่อประเภทอื่นๆ  ผู้เรียนที่อยู่ในสถาบันการศึกษาอื่นๆหรือต่างโรงเรียนกันต่างจังหวัด  หรือต่างประเทศก็สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายได้
            3. ฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ  โดยเฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  การแก้ปัญหาและการคิดอย่างอิสระ  ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลในเครือข่ายมีมากผู้เรียนจึงต้องคิดวิเคราะห์อยู่เสมอ  เพื่อแยกแยะสารสนเทศที่เป็นสาระสำหรับตน
            4. ขยายขอบข่ายการเรียนรู้ในห้องเรียนออกไป  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสำรวจข้อมูลตามความสนใจของผู้เรียน  นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้ผู้เรียนมีโอกาสมองปัญหาได้หลากหลายแง่มุมมากขึ้น
            5. ทำให้ผู้เรียนสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำปรึกษาได้โดยอิสระ  ถือเป็นแรงจูงใจที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ของผู้เรียน
            6. ทำให้เรียนได้มีโอกาสศึกษาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆบนคอมพิวเตอร์และบนเครือข่ายต่างๆไปพร้อมๆกับการเรียน
              2.2.4 ข้อดีของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
            1. ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับแหล่งการเรียนผู้อื่นๆ
            2. ช่วยลดรายจ่ายในสภาพการเรียนการสอนจริงที่มีอาคารพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ  ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมาก มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และบางครั้งอาจเสี่ยงอันตราย  ดังนั้นการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้
            3. ทำข้อมูลให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบันได้ง่ายและรวดเร็วจึงทำให้เนื้อหาวิชาที่ผู้เรียนได้รับถูกต้องอยู่เสมอ
            4. ข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอนสามารถอ้างอิงผ่านระบบการสืบค้นได้ทันที
       2.3 มัลติมีเดีย  เทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวหน้าจนสามารถรองรับการแทนข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ได้มากขึ้น สามารถนำเสนอข่าวสารที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น  การผสมรูปแบบหลายสื่อจึงทำได้ง่าย  เช่น การใช้ภาพที่เป็นสีแทนภาพขาว - ดำ เพื่อทำให้เข้าใจดีขึ้น  ภาพเคลื่อนไหวทำให้น่าตื่นเต้นเรียนรู้ได้ง่ายตลอดจนการมีเสียงเมื่อนำมารวมเข้าด้วยกันเป็นมัลติมีเดีย ซึ่งการผสมรูปแบบสื่อหลายอย่างทำให้การเรียนรู้สมบูรณ์ขึ้น

  •  เมื่อราวๆ  ต้นปี พ.ศ. 2524  มีระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าวินโดวส์ 3.0  ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่อง พี ซี และเป็นระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า  กราฟิกยูชเซอร์อินเตอร์เฟส (GUI : Graphical User Interface) ซึ่งมีลักษณะอินเตอร์เฟสเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช  เป็นอินเตอร์เฟสที่แสดงได้ทั้งข้อความและกราฟิกและง่ายต่อการใช้ ประกอบกับที่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ  ที่สนับสนุนการใช้ให้กว้างขว้างขึ้น  ซึ่งต่อมาในปี  พ.ศ. 2535  วินโดวส์มีศักยภาพในเรื่องของภาพและเสียง  ในปีเดียวกันนี้จึงเกิดมาตรฐาน  เอมพีซี  (MPC: multimedia personal computer)  ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นสิ่งกำหนดระบบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้านมัลติมีเดีย

       การเริ่มต้นใช้วินโดวส์  3.1  เมื่อเดือนมีนาคม  พ.ศ. 2536 ทำให้สามารถขยายการใช้มัลติมีเดียได้กว้างขวางยิ่งขึ้น  กล่าวคือรายการเล่นไฟล์เสียง  ไฟล์มีดี  ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวและภาพยนตร์  จากแผ่นซีดีรอมได้  จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของมัลติมีเดียบนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี
       ดังนั้นการใช้มัลติมีเดีย  คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด  เช่น  ข้อความ  สีสัน  ภาพกราฟิก  ภาพเครื่องไหว  และภาพวีดิทัศน์ และผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อให้เสนอของมาตามต้องการได้  ระบบนี้จะเรียกว่า  มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด  เมาส์หรือตัวชี้เป็นต้น
              2.3.1 คุณค่าของมัลติมีเดีย  ได้นำมาใช้ในการฝึกอบรม  การทหารและอุตสาหกรรม  และยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการศึกษา  ทั้งนี้เพราะว่าเทคโนโลยีมัลติมีเดียสามารถทีจะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ  ภาพเคลื่อนไหว  ดนตรี  กราฟิก  ภาพถ่าย  วัสดุตีพิมพ์และภาพยนตร์วีดิทัศน์  และสามารถที่จะจำลองภาพการเรียนการสอน  โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยตรง  จุดเด่นของการใช้มัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีดังนี้
                     1. ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุก กับแบบสื่อนำเสนอการสอนแบบเชิงรับ
                            2. สามารถเป็นแบบจำลองการนำเสนอที่เป็นแบบฝึก และสอนที่ไม่มีแบบฝึก
                            3. มีภาพประกอบและมีปฏิสัมพันธ์
                            4. เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาเพื่อช่วยการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีศักยภาพ
                            5. ยอมให้ผู้ใช้ควบคุมได้ด้วยตนเอง และมีระบบหลายแนวทางในการเข้าถึงข้อมูล
                            6. สร้างแรงจูงใจและมีหลายรูปแบบการเรียน
                            7. จัดการด้านเวลาในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่า
              2.3.2 การใช้มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน  เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียนและสนองต่อรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน  การจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่างๆ  เป็นวิธีการเรียนรู้ที่นำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริงโดยสามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี  นักเรียนอาจเรียนหรือฝึกซ้ำได้และใช้มัลติมีเดียในการฝึกภาษาต่างประเทศ โดยเน้นเรื่องของการออกเสียงและฝึกพูด
          มัลติมีเดียสามารถเชื่อมทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกันคือ  ให้โอกาสผู้ใช้บทเรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติในสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน  และช่วยเปลี่ยนผู้ใช้บทเรียนจากสภาพการเรียนรู้ในเชิงรับ  มาเป็นเชิงรุก  ในด้านของผู้สอนใช้มัลติมีเดียในการนำเสนอการสอนในชั้นเรียนแทนการสอนโดยใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  ทั้งนี้เนื่องจากมัลติมีเดียจะสามารถนำเสนอความรู้ได้หลายสื่อและเสมือนจริงได้มากกว่าการใช้สื่อประเภทแผ่นใสเพียงอย่างเดียว
                มัลติมีเดียจึงเป็นสื่อทางการเรียนการสอนและการศึกษาที่มีขอบเขตกว้างขวาง  เพิ่มทางเลือกในการเรียนและการสอน  สามารถสนองต่อรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกันได้  สามารถจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่างๆ  เพื่อการเรียนรู้ได้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนลงมือปฏิบัติจริง  สามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี  จึงกล่าวได้ว่ามัลติมีเดียมีความเหมาะสมที่นำมาใช้ทางการสอนและการศึกษา
       2.4 อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค  พัฒนาการอีกด้านหนึ่งคือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม  ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง  600  ล้านตัวอักษร  ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือหรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่มและที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอมได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี  สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง  ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง  เพราะในอนาคตหนังสือต่างๆ  จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์ยุค  ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บข้อมูลในรูปของมัลติมีเดียและเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน  ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

       ปัจจุบันแนวโน้มด้านราคาของซีดีรอมมีแนวโน้มถูกลงเรื่องๆ  จนแน่ใจว่าสื่อซีดีรอมจะเป็นสื่อที่นำมาใช้แทนหนังสือที่ใช้กระดาษในอนาคต  ทั้งนี้เชื่อว่าสื่อที่ใช้กระดาษจะมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น
       ในการประยุกต์อิเล็กทรอนิกส์บุคมาให้ทางการศึกษา  มักใช้เพื่อเป็นสื่อแทนหนังสือหรือตำรา หรือใช้เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนด้วยตนเอง  ผู้เรียนนำแผ่นซีดีที่บรรจุข้อมูลหนังสือทั้งเล่มมาอ่านด้วยคอมพิวเตอร์และเมื่อต้องการข้อมูลส่วนใดก็สามารถคัดลอกและอ้างอิงนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดพิมพ์ใหม่  โปรแกรมประยุกต์ในปัจจุบันที่ใช้อ่านข้อมูลที่จัดเก็บในแผ่นซีดีรอม  ได้แก่  Acrobat Reader,  Nescape  Navigator,  Internet  Explorer  เป็นต้น

       2.5 ระบบการเรียนการสอนทางไกล  การเรียนการสอนทางไกลเป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้เพื่อกระจายการศึกษา  ระบบการกระจายการศึกษาที่ได้ผลในปัจจุบันและเข้าถึงมวลชนจำนวนมาก  ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วย  ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีสถานีโทรทัศน์เพิ่มขึ้นอาจจะมากกว่า  100 ช่องในอนาคตและมีระบบโทรทัศน์ที่กระจายสัญญาณโดยตรงผ่านความถี่วีเฮซเอฟ  (VHF)  และยูเฮชเอฟระบบวีเอชเอฟได้แก่สถานีโทรทัศน์ช่อง  3  ช่อง  5  ช่อง  7  ช่อง  9  และช่อง  11  ส่วนระบบยูเฮชเอฟ  ได้แก่  ไอทีวี  (ITV)  และยังมีระบบดีทีเฮช  (DTH : Direct to Home)  คือระบบที่กระจายสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียมลงตรงยังบ้านที่อยู่อาศัย  ทำให้ครอบคลุมพื้นที่การรับได้กว้างขวางเพราะไม่ติดขัดสภาพทางภูมิประเทศที่มีภูเขาขวางกั้น  ดังนั้นการใช้ระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา
       การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้ระบบโทรทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดคือ  เป็นการสื่อสารทางเดียว  (One-way)  ทำให้ผู้เรียนได้รับข่าวสารข้อมูลเสียงด้านเดียวไม่สามารถซักถามปัญหาต่างๆ  ได้จึงมีระบบกระจายสัญญาณในรูปของสาย  โดยใช้เส้นใยแก้วนำแสง  ในการสื่อสารเหมือนสายโทรศัพท์  แต่มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดาและส่งกระจายสัญญาณไปตามบ้านเรือนต่างๆ  ก่อให้เกิดระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ขึ้น  ระบบดังกล่าวนี้เป็นระบบโต้ตอบสองทาง  (Two-way)  ทางฝ่ายผู้เรียนสามารถเห็นผู้สอนและผู้สอนก็เห็นผู้เรียนถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกัน  ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาตอบโต้กันเห็นภาพกันเสมือนนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน  ระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์จึงเป็นระบบหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมาก


       เมื่อระบบการศึกษาเน้นระบบการกระจายการศึกษา  การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติและมีครูเป็นผู้สอนจำกัดเวลาเรียนตายตัว  และต้องเรียนในสถานที่ที่จัดไว้ให้ก็อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนช่วยในการเรียนรู้  และเชื่อมโยงการสอนของครูที่เก่าหรือเชี่ยวชาญไปสู่ผู้เรียนในสถานที่ต่างๆ  ได้ทั่วถึงและรวดเร็ว  ระบบการเรียนการสอนทางไกลจึงเกิดขึ้น ซึ่งสนองความต้องการของสังคม  ปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสารการสอนทางไกลเป็นการเปิดโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่างๆ  อย่างทั่วถึงทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต
              2.5.1 ความหมาย  การเรียนการสอนทางไกล เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน  ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ  ได้แก่  สื่อที่เป็นหนังสือสื่อทางไปรษณีย์  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  วิทยุกระจายเสียง  โทรทัศน์  การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง  (Video  Conference)  อินเตอร์เน็ต เป็นต้น  ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นต่างที่กันสามารถศึกษาความรู้ได้
              2.5.2 กระบวนการเรียนการสอน  มีขั้นตอนสำคัญๆ  3  ขั้นตอน  คือ
              1. การเรียน – การสอน  การเรียนทางไกลอาศัยครูและอุปกรณ์การสอนสามารถใช้สอนนักเรียนได้มากกว่า  1  ห้องเรียนและได้หลายสถานที่ซึ่งจะเหมาะกับวิชาที่นักเรียนหลายๆ  แห่งต้องเรียนเหมือนๆกัน  เช่น  วิชาพื้นฐานซึ่งจะทำให้ไม่ต้องจ้างครูและซื้ออุปกรณ์สำหรับการสอนในวิชาเดียวกันของแต่ละแห่ง  การสอนนักเรียนจำนวนมากๆ  ในหลายสถานที่ครูสามารถเลือกให้นักเรียนถามคำถามได้  เนื่องจากมีอุปกรณ์ช่วยในการโต้ตอบ  เช่น  ไมโครโฟน  กล้องวิดีทัศน์และจอภาพเป็นต้น
                   2. การถาม – ตอบ  ขั้นตอนที่สำคัญอย่างหนึ่ง  คือการใช้คำถามเพื่อให้เกิดการโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์สื่อที่ใช้อาจเป็นโทรศัพท์หรือกล้องวิดีทัศน์ในระบบการสอนทางไกลแบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์หรือโทรสาร  หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งเป็นการถามตอบภายหลัง
                   3. การประเมินผล  รูปแบบการประเมินผลการเรียนการสอนทางไกลนั้นผู้เรียนสามารถส่งการบ้านและทำแบบทดสอบโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  หรืออาจเป็นรูปแบบการประเมินผลในห้องเรียนปกติ (ในห้องสอบที่จัดไว้) เพื่อผสมผสานกันไปกับการเรียนทางไกล
                  ดังนั้นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสอนทางไกลจะประสบผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าผู้นำมาใช้เข้าใจแนวคิดหลักการตลอดจนมีการวางแผนและเตรียมการไว้เป็นอย่างดี  โดยคำนึงถึงการสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนให้มากจะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น การใช้สื่อและอุปกรณ์การสื่อสารอย่างหลากหลายทำให้เกิดสภาวะยึดหยุ่นของการจัด  ซึ่งหมาะสมกับสภาวะการณ์ในปัจจุบันโดยทั้งหมดทำให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญคือความสามารถในการกระจายโอกาสทางการศึกษาและยกระดับคุณภาพของการศึกษา  จึงกลายเป็นทางลัดที่เอื้อต่อการเรียนหลายประเภทและไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

       2.6 วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  หมายถึง  การประชุมทางจอภาพโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคลหรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่และห่างไกลคนละซีกโลก  ด้วยสื่อทางด้านมัลติมีเดียที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว  ภาพนิ่ง  เสียงและข้อมูลตัวอักษรในการประชุมเวลาเดียวกัน  และเป็นการสื่อสาร  2  ทาง  จึงทำให้ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ

       ด้านการศึกษาวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางจอภาพ  โทรทัศน์และเสียง  นักเรียนในห้องเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียงของครู สามารถเห็นอากับกิริยาของผู้สอน  เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของครูในขณะเรียน
       คุณภาพของภาพและเสียงขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสารที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน  ได้แก่  จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์  ลำโพง  ไมโครโฟน  กล้อง  อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
       2.7 ระบบวิดีโอออนดีมานด์  เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ในหลายประเทศเช่น  ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่างๆ สามารถเลือกรายการวีดิทัศน์ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการและเลือกชมได้ตลอดเวลา
       วิดีโอออนดีมานด์เป็นระบบที่มีศูนย์กลางการเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก  โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่  เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ  ระบบวิดีโอออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา  ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้


       2.8   ไฮเปอร์เท็กซ์  ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบไฮเปอร์เท็กซ์กันมากแม้แต่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์จนมีโปรโตคอลพิเศษที่ใช้กัน  คือ  World  Wide  Web หรือเรียกว่า  www.  โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล  http  เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ต  ในปัจจุบันเป็นแบบมัลติมีเดียเพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บได้ทั้งภาพ  เสียงและตัวอักษร  มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพโดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ  โดยทั่วไปไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า  ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้  โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมากส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียง  ได้แก่  HTML,  Compossor,  FrontPage,  Marcromedia  Drea  Weaver  เป็นต้น


                2.8.1  ประโยชน์ของไฮเปอร์เท็กซ์ที่ใช้ทางการศึกษา  ได้แก่
                     1. รูปแบบการนำเสนอและการสืบค้นน่าสนใจ ชวนติดตาม
                     2. การนำเสนอ สามารถนำเสนอได้ทั้งวีดิทัศน์ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น
                     3. สามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นๆ ภายนอกได้
                     4. ผู้ใช้สามารถสืบท่องไปยังเนื้อหาที่สนใจและต้องการได้ด้วยตนเอง
                     5. มีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ กล่าวคือสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงเนื้อหาได้ง่าย  
                6. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดได้อย่างรวดเร็ว
                     7. สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ  เพื่อการนำเสนอได้ง่าย  ทำให้เกิดกิจกรรมการใช้งานหลากหลายขึ้น
                     8. สามารถประยุกต์ใช้กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมได้
                     9. เกิดความคงทนในการเรียนรู้มากกว่าการใช้เอกสารที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์
                     10. ส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคลได้เป็นอย่างดี
       2.9 การสืบค้นข้อมูล  (Search  Engine)  ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก  แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูลจนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน  คือ  World  Wide  Web  หรือเรียกว่า  www.  โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล  http  เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต  ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย  เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่  ที่เก็บได้ทั้งภาพ  เสียงและตัวอักษร  มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ  โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป  ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้าถอยหลัง  และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้  โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก  ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียง  ได้แก่  HTML  Compossor  FrontPage  Marcromedia  Drea  Weaver  เป็นต้น  ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล  เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่างๆ  ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 


       2.10 อินเตอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรากฐานความเป็นมาโดยการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาที่มีความประสงค์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ  จึงสนับสนันทุนวิจัยให้มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาทำการวิจัยเชื่อมโยงเครือข่ายขึ้น  และให้ชื่อว่า APRANET  ต่อมาเครือข่ายนี้ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมีคนนิยมใช้กันมากยิ่งขึ้นจึงใช้ชื่อเครือข่ายใหม่ว่าอินเตอร์เน็ต  เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยและขยายตัวรวดเร็วออกไปสู่หน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในหลายประเทศ  ประเทศไทยได้เชื่อมโยงเครือข่ายนี้โดยมีมหาวิทยาลัยกว่า  24  แห่ง  ต่อผ่านช่องทางสื่อสารเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
     
       อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อการศึกษามากทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ  ตื่นตัวต่อการใช้  ทั้งนี้เพราะว่าในระบบเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารที่ต้องการมากมาย  จึงมีอัตราการขยายตัวของผู้ใช้สูงและครอบคลุมทุกแห่งทั่วโลก  จึงทำให้อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการศึกษาดังนี้
                     1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ  ว่า  อีเมล์  (E-mail)  เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย  แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้  โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ไปใช้ทางการศึกษาได้  เช่นการแจ้งผลสอบผ่านทางอีเมล์  การส่งการบ้าน  การโต้ตอบบทเรียนต่างๆ  ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
                 2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก  ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้  เช่น  กลุ่มสนใจงานเกษตรก็สามารถมีกระดานข่าวของตนเองไว้สำหรับอภิปรายปัญหากันได้
                     3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ  บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน  และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ  ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น  โดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก  (Index)  ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
     4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม  (World  Wide  Wed)  เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร และแบบมีรูปภาพ  จนมาปัจจุบันฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ  วีดิทัศน์และเสียง  ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ  ทั่วโลก
     5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่มบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง  ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย  เช่น ฝ่ายหนึ่งอาจอยู่ต่างประเทศอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในที่ห่างไกลก็พูดคุยกันได้และยังสามารถพูดคุยกันเป็นกลุ่มได้
     6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ  FTP  (Files Transfer Protocol)  คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆได้  โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
     7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน  ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้  และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้  เช่น  มหาวิทยาลัยหนึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์และผู้อยู่อีกมหาวิทยาลัยหนึ่งก็ขอใช้ได้  ทำให้มีการใช้ทรัพยากรที่เป็นซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประโยชน์และคุ้มค่าอย่างยิ่ง
     ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าประโยชน์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษายังมีอีกมาก  มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งจึงเร่งที่จะมีโครงการสร้างเครือข่ายความเร็วสูงขึ้นในมหาวิทยาลัย  เพื่อให้ทรัพยากรภายในและผู้ใช้เชื่อมโยงถึงกันได้  นอกจากนั้นยังสามารถต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้

3. เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา       
       3.1 การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้  กล่าวคือ  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้  มิได้หมายถึงแต่เพียงตำราครูและอุปกรณ์การสอนที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น  แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ  เช่น
              3.1.1 คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญ ซึ่งได้แก่  ครูและวิทยากรอื่น  ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน  เช่น  เกษตรกร  ตำรวจ  บุรุษไปรษณีย์  เป็นต้น
              3.1.2 วัสดุและเครื่องมือ  ได้แก่  โสตทัศน์  วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  เช่น  ภาพยนตร์  วิทยุ  โทรทัศน์  เครื่องวิดีโอเทป  ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์  รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
              3.1.3 เทคนิค-วิธีการ  แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก  ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหาแก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด  ครูเป็นเพียง  ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น  สถานที่อันได้แก่  โรงเรียน  ห้องปฏิบัติการทดลอง  โรงฝึกงาน  ไร่นา  ฟาร์ม  ที่ทำการรัฐบาล  ภูเขา  แม่น้ำ  ทะเลหรือสถานที่ใดๆ  ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
       3.2 การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล  ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้นและกระจัดกระจายยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้  นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด  หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้  แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน  เขาก็คิด  แบบเรียนโปรแกรม  ซึ่งทำหน้าที่สอนเหมือนกับครูมาสอน  นักเรียนจะเรียนด้วยตนเองจากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม  หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆอย่าง  จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
       3. 3 การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา  การใช้วิธีระบบในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา  เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา  หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ  เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบอย่างมีเหตุผลหาทางให้ส่วนต่างๆ  ของระบบทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
       3.4 พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

4. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
       ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา  ได้แก่  แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป  อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ  พอจะสรุปได้  4   ประการ  คือ
           4.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ  ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน  ได้แก่  การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง  ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้  เช่น
                           1. การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น  (Non-Graded  School)
                                            2. แบบเรียนสำเร็จรูป  (Programmed  Text  Book)
                           3. เครื่องสอน (Teaching  Machine)
                           4. การสอนเป็นคณะ (Team  Teaching)
                           5. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School  within  School)
                           6. เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer  Assisted  Instruction)
                4.2 ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า  เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ  แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้  ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้  ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน  ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน  วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายากและไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้  ได้แก่  ศูนย์การเรียน  การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น 
                                1. ศูนย์การเรียน  (Learning  Center) 
                                2. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน  (School  within  School) 
                                3. การปรับปรุงการสอนสามชั้น  (Instructional  Development  in  3  Phases)
                4.3 การใช้เวลาเพื่อการศึกษา  แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอนหรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์  เช่น  ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง  เท่ากันทุกวิชา  ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียนเป็นปี  ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน  บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ  แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น  นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้  เช่น
                           1. การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
                                            2. มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
                           3. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
                           4. การเรียนทางไปรษณีย์
             4.4 ประสิทธิภาพในการเรียน  การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคม  ทำให้มีสิ่งต่างๆ  ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก  แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก  นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น  เช่น
                           1. มหาวิทยาลัยเปิด
                           2. การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
                           3. การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
                           4. ชุดการเรียน




*ขอขอบคุณเจ้าของเว็บไซต์ข้างต้นมาน่ะที่นี่ด้วยค่ะ*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น