ปัจจัยที่เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีมาใช้ (นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา)

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
              จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23 อ้างใน http://www.itdestination.com สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2553พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
  •   การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
  •          การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
  •        การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ

              สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น   ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns) นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology) ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี
              นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ (http://www.itdestination.com สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2553)
              1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
              2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
              3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ

การค้นหาข้อมูล และติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

ความหมายและการพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ใช้เพื่อประโยชน์ในด้านการเรียน  การทำงาน  การติดต่อสื่อสาร  และความบันเทิง  เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย  และมีซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้ใช้งานมากมาย  การศึกษาความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตจะช่วยให้รู้จักและเข้าใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
ความหมายของอินเทอร์เน็ต                                                                    
                 อินเทอร์เน็ต (internet)  หมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน  โดยอาศัยโครงสร้างของระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  และใช้งานรูปแบบต่าง ๆ
                อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะ  จึงเข้าสู่เครือข่ายได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายจากการเชื่อมต่อของเครือข่ายทั่วโลก 
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
                เครือข่ายอินเทอร์เน็ตพัฒนามาจากเครือข่ายอาร์พาเน็ต(ARPAnet)  ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางการทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย  และมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง  ดังลำดับต่อไปนี้
พ.ศ. 2512              เครือข่ายอาร์พาเน็ตเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรก
พ.ศ.2515               ปรับปรุงเครือข่ายอาร์พาเน็ตให้ใช้งานได้จริงและเปลี่ยนชื่อเป็น ดาร์พา (DARPAnet)
พ.ศ.2518               โอนความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานการสื่อสารของกองทัพ
พ.ศ.2526               ขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น  โดยใช้เกณฑ์วิธีหรือโพรโทคอลชนิดทีซีพี/ไอพี
(TCP/IP)
พ.ศ.2532               ประเทศไทยเริ่มเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ.2546               เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ.2549               เกิดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในประเทศไทย  ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์สมุดพก
พ.ศ.2552               เกิดระบบ 3G  ในโทรศัพท์เคลื่อนที่  ซึ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ในรูปแบบสื่อประสม
การทำงานของอินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
                เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนใยแมงมุมที่แผ่ออกไปกว้างไกลและมีจุดเชื่อมต่อกันได้มายมาย  โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ก่อนแล้ว  ซึ่งเรียกว่า  ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละรายจะเก็บค่าบริการไม่เท่ากัน  ขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อว่าใช้เทคโนโลยีใด  เช่น  เอดีเอสแอล(ADSL)  ไอเอสดีเอ็น (ISDN)  แอร์การ์ด (air card)  ทรีจิ(3G)  หรือโมเด็มธรรมดาและมีความเร็วสูงมากน้อยเพียงไร  เชื่อมต่อตลอดเวลาหรือเป็นครั้งคราว  จำกัดเวลาใช้งานหรือไม่  เป็นผู้เรียกดูเรียกใช้บริการอย่างเดียว หรือเป็นผู้ให้บริการแก่คนอื่น  หรือให้บริการฟรี  เช่น  สถาบันการศึกษาให้นักศึกษาในสังกัดใช้งานอินเทอร์เน็ตฟรี  เป็นต้น
            เทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต มีดังนี้
                โมเด็ม(modem)  คือ  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งมีสายสัญญาณนำส่งข้อมูลได้แต่ไม่รวดเร็วเท่ากับเทคโนโลยีอื่น ๆ
                เอดีเอสแอล(ADSL)  คือ  เทคโนโลยีของโมเด็มซคึ่งมีสายสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูงกว่าโมเด็มธรรมดา  และสามารถพูดโทรศัพท์ขณะใช้อินเทอร์เน็ตได้
                ไอเอสดีเอ็น(ISDN)  คือ  บริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิทัลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ  เสียง  และข้อมูลได้เร็วกว่าโมเด็มธรรมดา
                แอร์การ์ด(aircard)  คือ  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายเข้ากับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก  และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
                ทรีจี(3G)  คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูล  โทรศัพท์เคลื่อนที่  วิทยุเทป  กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ตไว้ด้วยกัน  ตลอดจนให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงสำหรับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก
an>/ไอพี
(TCP/IP)
พ.ศ.2532               ประเทศไทยเริ่มเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ.2546               เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ.2549               เกิดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในประเทศไทย  ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์สมุดพก
พ.ศ.2552               เกิดระบบ 3G  ในโทรศัพท์เคลื่อนที่  ซึ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ในรูปแบบสื่อประสม
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของเทคโนโลยีเอดีแอสแอล  ไอเอสดีเอ็น  และโมเด็ม  มีขั้นตอนที่เหมือนกัน  ดังนี้
1. ผู้ใช้ขอเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต จากผู้ให้บริการโดยการพิมพ์ชื่อเข้าใช้ (login)  และรหัสผ่าน (password)
2. โมเด็มจะทำหน้าที่หมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการพร้อมกับลงชื่อเข้าใช้และรหัสผ่านไปด้วย
3. ข้อมูลชื่อเข้าใช้  และรหัสผ่านเดินทางผ่านทางสายโทรศัพท์
4. ผู้ให้บริการได้รับการร้องขอเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะทำการตรวจสอบชื่อเข้าใช้  และรหัสผ่าน  ถ้าถูกต้องจะส่งข้อมูลกลับไปว่า  เข้าใช้สำเร็จ
5. ผู้ใช้จะสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ทันที
                สำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยแอร์การ์ดทำได้โดยเสียบแอร์การ์ดเข้ากับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เปิดเครื่องไว้แล้ว  จากนั้นคลิกปุ่มคำสั่ง Connect  ก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้  ส่วนการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบทรีจี  ซึ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง  เมื่อเปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทันที  สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งคราว  ต้องเข้าไปที่รายการการเชื่อมต่อ  แล้วเลือกจีพีอาร์เอส(GPRS)  ติดต่อกับเครื่องแม่ข่าย  เพื่อขอใช้งานจึงจะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
           ไอเอสดีเอ็น(ISDN)  คือ  บริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิทัลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ  เสียง  และข้อมูลได้เร็วกว่าโมเด็มธรรมดา                แอร์การ์ด(aircard)  คือ  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายเข้ากับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก  และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
                ทรีจี(3G)  คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูล  โทรศัพท์เคลื่อนที่  วิทยุเทป  กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ตไว้ด้วยกัน  ตลอดจนให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงสำหรับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก
การใช้งานอินเทอร์เน็ต
                การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ  ซึ่งผู้ใช้ควรศึกษาวิธีการใช้ให้เข้าใจและฝึกใช้เป็นประจำจึงจะใช้ได้ถูกต้องและเกิดประโยชน์มากที่สุด  ดังตัวอย่าง
            อีเมล์
                อีเมล์(e-mail)  หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นการส่งข้อความอย่างเดียวหรือแนบไฟล์  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียงไปกับข้อความ  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการส่งจดหมายหรือพัสดุทางไปรษณีย์  แต่ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากกว่า  โดยมีซอฟต์แวร์เป็นบุรุษไปรษณีย์  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเส้นทางการส่งจดหมาย  และการจ่าหน้าซองจดหมายหรือพัสดุเป็นการอ้างอิงที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  แทนการเขียนลงบนซองจดหมายหรือกล่องพัสดุ
                การส่งอีเมล์ถึงผู้รับมีขั้นตอน  ดังนี้
1.       ลงทะเบียนเพื่อขอใช้บริการอีเมลของเว็บไซต์ที่ให้บริการก่อน  ในกรณีที่ยังไม่สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี
2.       เข้าสู่ระบบของผู้ให้บริการ (login)  โดยพิมพ์ชื่อเข้าใช้ (username)  และรหัสผ่าน(password)
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง NEW  หรือ สร้าง
4.       พิมพ์ที่อยู่ของผู้รับ
5.       พิมพ์หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อความที่จะส่งไปให้ผู้รับ
6.       พิมพ์ข้อความที่ต้องการส่ง
7.       คลิกปุ่มคำสั่ง Send  หรือ  ส่ง
เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีอีเมล์  ซึ่งสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น www.hotmail.com,  www.gmail.com,  www.yahoo.com เป็นต้น
               


บล็อก
                บล็อก (blog)  ย่อมาจากคำว่า เว็บล็อก(weblog)  ซึ่งเป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียนและจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้บนสุด
                บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วยข้อความ  ภาพ  การเชื่อมโยงภายในบล็อกและเว็บไซต์อื่น  และบางครั้งอาจมีสื่อต่าง ๆ เช่น  เพลง  วิดีโอ  ร่วมด้วย  บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูลสามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเขียนขึ้น  และเจ้าของบล็อกสามารถโต้ตอบกลับได้ทันที
                บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย  โดยเจ้าของบล็อกสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร ประกาศข่าย  แสดงความคิดเห็น  และเผยแพร่ผลงานได้  นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนขึ้นเฉพาะเรื่องส่วนตัวจะเรียกว่า  ไดอารีออนไลน์  และบริษัทเอกชนหลายแห่งได้จัดทำบล็อกขึ้นเพื่อเสนอแนวความคิดใหม่ให้กับลูกค้าในรูปแบบข่าวสั้น และเมื่อได้รับการตอบรับจากลูกค้า  จึงนำการตอบรับนี้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการต่อไป
                การใช้งานบล็อกในฐานะผู้อ่านและต้องการ่วมแสดงความคิดเห็น  ทำได้ดังนี้
1.       เข้าไปในบล็อกที่ต้องการอ่านหรือร่วมแสดงความคิดเห็น  โดยเลือกผ่านการสืบค้นด้วยโปรแกรมเรียกค้นข้อมูล
2.       พิมพ์ข้อความแสดงความคิดเห็น
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง  ส่งความคิดเห็น
เว็บไซต์ที่ให้บริการสมาชิกได้สร้างเว็บในลักษณะของเว็บบล็อกได้ฟรีที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ hi5,  Facebook,  Bloger,  Ning, Gotoknow เป็นต้น
            การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล  หรือ  เอฟทีพี(FTP : File Transfer Protocol)  เป็นบริการของสถานีบริการโอนย้ายข้อมูล  ซึ่งอาจเป็นขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่มีการนำข้อมูลมาเก็บไว้  ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เป็นเอกสาร  หรือแฟ้มข้อมูลอื่นใดก็ได้  สถานีบริการนี้จะดูแลแฟ้มและให้บริการแก่ผู้เรียกใช้  ทั่งในระยะใกล้และสถานีห่างไกลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดยผู้เรียกใช้สามารถติดต่อเข้าไปเพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการมาใช้งานได้
                นอกจากนี้  การโอนย้ายข้อมูล  ยังสามารถนำข้อมูลของผู้ใช้ที่มีอยู่  โอนย้ายไปให้ผู้อื่น หรือนำไปไว้ในเครื่องบริการที่เชื่อมต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตที่อื่น  ซึ่งผู้ใช้มีสิทธิ์ในการใช้
                ซอฟต์แวร์โอนย้ายข้อมูลที่นิยมใช้กันมีอยู่หลายชนิด  เช่น  WS_FTP, Cute FTP, FileZilla เป็นต้น ซึ่งในทีนี้จะขอนำเสนอวิธีการใช้งานซอฟต์แวร์ WS_FTP เพราะมีวิธีการติดตั้งไม่ยุ่งยากและใช้งานง่าย
                การโอนย้ายข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ WS_FTP ที่ติดตั้งแล้ว  ทำได้โดยเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  แล้วปฎิบัติดังนี้
1.       ดับเบิลคลิกที่ปุ่มคำสั่งของซอฟต์แวร์ WS_FTP เพื่อเปิดใช้งาน
2.       เลือกข้อมูลที่ต้องการโอนย้าย
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง Ü
4.       แสดงการโอนย้ายสำเร็จ
การสืบค้นข้อมูลโดยใช้โปรแกรมเรียกค้นข้อมูล (search engine)
                บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลมากมายให้สืบค้น  ทั้งข่าวสาร  บทความ  รูปภาพ  เพลง  มิวสิกวิดีโอ  แผนที่  ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สืบค้น  โดยการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการแบบประหยัดเวลานั้น  ต้องทราบแหล่งที่มีข้อมูล  วิธีการสืบค้นและมีโปรแกรมเรียกค้นข้อมูล
                เซิร์ซเอนจิน (search engine)เป็นโปรแกรมเรียกค้นข้อมูลหรือโปรแกรมช่วยสืบค้นข้อมูลที่เก็บไว้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมเรียกค้นข้อมูล  สามารถพบได้ทั้งเว็บไซต์ต่างประเทศและในประเทศ  เช่น www.google.comwww.google.co.th,www.yahoo.comwww.lycos.com,  www.sanook.com,  www.siamguru.com เป็นต้น  ซึ่งเว็บไซต์ที่คนไทยคุ้ยเคยกันดีก็คือ  www.google.co.thนั่นเอง
การสืบค้นข้อมูลภาษาไทยโดยใช้โปรแกรมเรียกค้นข้อมูลของ www.google.co.th มีขั้นตอน  ดังนี้
1.       เปิดเว็บเพจกูเกิล  โดยพิมพ์ www.google.co.th ลงในช่องว่าง  แล้วกดปุ่ม Enter
2.       พิมพ์คำค้นหาหรือคำสำคัญ(keyword)  ที่ต้องการสืบค้นข้อมูลลงในช่องว่าง
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง  ค้นหาด้วย Google
4.       คลิกเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการสืบค้นข้อมูล  แล้วจะปรากฎรายละเอียดข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นั้น ๆ
หมายเหตุ
www.google.co.th  เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ  Search engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ซึ่งมีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ อีเมล  เครือข่ายออนไลน์  แผนที่ออนไลน์  ก่อตั้งโดย  แลร์รี เพจ  และเซอร์เกย์ บริน  คำว่า google  มาจากจำนวนทางคณิตศาสตร์  หมายถึง  เลข 1  ตามด้วย 0  อีกร้อยตัว  หรือ  10100  เพื่อแสดงว่าบริษัทต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล
            การสนเทนาบนเครือข่าย
                การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต  นอกเหนือจากการใช้อีเมลแล้ว ยังสามารถสนทนาพูดคุยกันได้  โดยใช้ซอฟต์แวร์ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานแตกต่างกันไป  เช่น  พิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ด  การพูดคุยผ่านไมโครโฟน  และการพูดคุยผ่านเว็บแคมซึ่งสามารถมองเห็นหน้าตาผู้สนทนา  รวมถึงสามารถส่งไฟล์ข้อมูล  ข้อความภาพและเสียงไปให้คู่สนทนาขณะพูดคุยกันได้  เป็นต้น 
                ซอฟต์แวร์สนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยม  เช่น  เอ็มเอสเอ็น  เมสเซนเจอร์ (MSN Messenger)  ไอซีคิว (ICQ) เป็นต้น
                ตัวอย่างการสนทนาบนเครือข่าย ด้วยซอฟต์แวร์  เอ็มเอสเอ็น  เมสเซนเจอร์ (MSN Messenger)  มีขั้นตอนดังนี้
1.       คลิกปุ่มคำสั่ง  start  >  All Programs  >  Windows Live  >  Windows Live Messenger  หรือ  ดับเบิลคลิกไอคอน  ..... บนหน้าต่างทำงาน
2.       ลงชื่อเข้าใช้และรหัสผ่าน
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง  ลงชื่อเข้าใช้
4.       คลิกลงบนรายชื่อเพื่อนที่ต้องการสนทนาด้วย  แล้วเลือกส่งข้อความด่วน
5.       พิมพ์ข้อความสนทนาลงไปยังช่องว่างด้านล่าง  แล้วกดปุ่ม  Enter  บนคีย์บอร์ด  จะปรากฎข้อความสนทนาที่หน้าต่างด้านบน
ถ้าคู่สนทนาส่งข้อความตอบกลับมา ปุ่มคำสั่งซอฟต์แวร์จะกระพริบและมีเสียงเตือนให้อ่านข้อความ
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
                คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต  เป็นแบบแผนความประพฤติหรือความสำนึกต่อสังคมในทางที่ดีเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต  เพื่อความปลอดภัยและความสงบสุขในสังคมอินเทอร์เน็ต  โดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว  ขึ้นอยู่กับการยอมรับทางสังคมของสังคมนั้น ๆ เป็นหลัก  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเกี่ยวข้องกับความคิด  และตัดสินใจได้ว่า  สิ่งไหนควรหรือไม่ควรปฏิบัติ  ดีหรือไม่ดี  ถูกหรือผิด  ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
                1. ความเป็นส่วนตัว  หมายถึง  สิทธิ์ส่วนตัวของบุคคล  หน่วยงาน  หรือ องค์กร  ที่จะคงไว้ซึ่งสารสนเทศที่มีอยู่  โดยให้เปิดเผยหรือยินยอมให้ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ต่อหรือเผยแพร่ได้หรือไม่  หากมีการนำไปใช้  จะมีการจัดการกับสิทธิ์ดังกล่าวอย่างไร
                ความเป็นส่วนตัวนี้มักพบเห็นได้จากผู้ให้บริการข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้ใช้บริการฟรี  เช่น  บริการฟรีอีเมล  บริการพื้นที่เก็บข้อมูล  บริการใช้งานโปรแกรมฟรี  ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะเข้าใช้งานจำเป็นต้องกรอกให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของตนเองเสียก่อน  จึงจะสามารถเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์  และใช้งานได้เต็มรูปแบบ
                2. ความถูกต้องแม่นยำ  หมายถึง  ความเป็นจริงและความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ควรตระหนักอยู่เสมอว่า  ข้อมูลและสารสนเทศนั้น  มีการกลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้อง  และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้
                3. ความเป็นเจ้าของ หมายถึง สิทธิ์โดยชอบในการแสดงความเป็นเจ้าของข้อมูลหรือสารสนเทศ  ของบุคคลหรือบริษัทผู้ผลิต  การนำข้อมูลหรือสารสนเทศไปเผยแพร่  ลอกเลียน  หรือทำซ้ำ  โดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นการละเมิดสิทธิ์ของความเป็นเจ้าของ  ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายและต้องรับโทษ
                4. การเข้าถึงข้อมูล  หมายถึง  การปฏิบัติตนเพื่อเข้าใช้ข้อมูลหรือสารสนเทศในเว็บไซต์ของบุคคลหรือบริษัทบางแห่งที่มีการกำหนดสิทธิ์ของผู้เข้าใช้เป็นระดับต่าง ๆ ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลที่ต้องการมาให้ได้ทั้งหมด  ผู้ใช้ที่ดีไม่ควรลักลอบเข้าไปใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต  ไม่พยายามก่อกวนหรือเข้าไปกระทำการอันจะส่งผลเสียหายใด ๆ รวมถึงปกป้องไม่ให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของตนเองตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี  เช่น  ไม่ควรบอกชื่อเข้าใช้และรหัสผ่านในอีเมลของตนเองแก่ผู้อื่น  ไม่ควรบอกรหัสผ่านเอทีเอ็มของธนาคารที่เราเปิดบัญชีแก่ผู้อื่น  เป็นต้น
ผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตกับสังคม
                อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยไปแล้ว  โดยเป็นแหล่งสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศต่างๆ  ซึ่งข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศนั้นก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในด้านบวกที่มีประโยชน์  และผลกระทบด้านลบที่สร้างความเสียหายต่อร่างกาย  จิดใจและการดำรงชีวิตของผู้ใช้มารยาท ระเบียบ  และข้อบับคับในการใช้อินเทอร์เน็ต
                อินเทอร์เน็ตเป็นบริการสาธารณะที่มีผู้ใช้จำนวนมาก  จึงต้องมีมารยาท  ระเบียบ  และข้อบังคับในการใช้  ให้ผู้เข้ามาใช้บริการปฎิบัติร่วมกันเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้ง  การละเมิดลิขสิทธิ์  การก่อความเสียหายต่อตัวบุคคล  ซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์  โดยแบ่งเป็น  2  ประเด็น  ได้แก่
1. การใช้อินเทอร์เน็ต  ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่าง ๆ แบ่งเป็น  4  ด้าน  ดังนี้
1.1 ด้านการติดต่อสื่อสารบนเครือข่าย  ประกอบด้วย
(1) ไม่ควรนำชื่อบัญชี และรหัสผ่าน ของผู้อื่นมาใช้  และนำข้อมูลของผู้อื่นไปกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ
(2) เก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ  และเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะ ๆ
(3) ประหยัดเวลาการเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยวางแผนการใช้งานไว้ล่วงหน้า
(4) เลือกถ่ายโอนข้อมูลและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ตามที่ใช้งานจริงเท่านั้น
(5) ก่อนเข้าใช้บริการต่าง ๆ ต้องศึกษา  กฎ  ระเบียบ  ข้อกำหนด  รวมทั้งธรรมเนียมปฎิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการใช้งาน
1.2 ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้  ประกอบด้วย
(1) ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสารและใช้คำให้ถูกความหมาย  เขียนถูกต้องตามหลักไวยกรณ์
(2) ใช้ข้อความที่สั้น  กระทัดรัด  เข้าใจง่าย
(3) ไม่นำความลับ  หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อสนทนา  รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
(4) หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูกเหยียดหยามศาสนา  วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
(5) สอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อสื่อสารด้วยก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ไปให้
(6) ไม่ส่งจดหมายลูกโซ่ผ่านทางไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ไปก่อความรำคาญและเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
1.3 ด้านการใช้ข้อมูลในเครือข่าย  ประกอบด้วย
(1) เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ  มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่และสถานที่ที่ติดต่อได้
(2) ต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้  และไม่แอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
(3) ไม่นำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
1.4 ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ  ประกอบด้วย
(1) เปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นได้ใช้งานบ้าง  ในกรณีที่เป็นอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่มีจำนวนเครื่องที่เปิดให้ใช้งานน้อย
(2) ติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. การใช้อินเทอร์เน็ตในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล  มีดังนี้
(1) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  และข่าวสารต่าง ๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
(2) ใช้ภาษาที่สุภาพและเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต  และ  เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้สะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
(3) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์  ไม่นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี  รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น  และข้อมูลที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม
(4) บีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตเพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
(5) ระบุแหล่งที่มา  วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล  ที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์ของผู้เผยแพร่  รวมทั้งควรมีคำแนะนำ  และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
(6) ระบุข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา  ข่าวลือ  ความจริง  หรือ  ความคิดเห็น
(7) ไม่เผยแพร่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลข่าวสาร  รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
(8) ไม่ส่งข้อมูลข่าวสารหรือซอฟต์แวร์ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์ไปให้ผู้อื่นหรือเผยแพร่ในระบบอินเทอร์เน็ต



ผลกระทบนวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยี มีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร
จะมีทางเลือกในการจัดการนวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีอย่างไร

การจัดการเทคโนโลยี  คือ  วิธีการ  กระบวนการ  ในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ  เพื่อพัฒนาผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษย์ได้สำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล  ประหยัด  และเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน      การจัดการเทคโนโลยี  คือการผสมผสาน  หรือองค์รวม  หรือจะเรียกว่าการบูรณาการก็ได้  เพราะจะต้องนำศาสตร์สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมตลอดจนการจัดการเข้าด้วยกัน  เทคโนโลยี เป็นฐานปัจจัยหลักในการพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์  แต่ทั้งนี้ต้องให้คำนึงถึงปัจจัยอีกประการ  คือการเพิ่มระดับความรู้  (Enhancement  of  Knowledge)  ทุนทางปัญญา  (Intellectual  Capital)  การใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า  (Effective  Exploitation  of Resource)  การรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ       การจัดการนี้จะ ต้องมีการจัดการที่เป็นระบบและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การจัดการเทคโนโลยี  จะต้องประกอบด้วยความรู้ที่จำเป็นสำหรับการบริหารเทคโนโลยี  หลายองค์ประกอบ เช่น   กลยุทธ์ระยะยาวทางเทคโนโลยี    นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                ขบวนการทางนวัตกรรมเทคโนโลยี     การจัดการการวิจัยและพัฒนา    สิ่งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี   เทคโนโลยีเพื่อธุรกิจขนาดย่อยและความเสี่ยง                วงจรชีวิต  ขบวนการและผลิตผล     การพยากรณ์เทคโนโลยีและการวางแผน   นวัตกรรมเทคโนโลยีและการวางแผนกลยุทธ์     การถ่ายโยงเทคโนโลยี   การถ่ายโยงเทคโนโลยีสู่สากลและบทบาทความร่วมมือระหว่างประเทศ        การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางเทคโนโลยีและการประเมิน                การวิเคราะห์เศรษฐกิจ  มนุษย์  สังคม และเทคโนโลยี     สาระวัฒนธรรม  มนุษย์  สังคม และเทคโนโลยี    สาระการศึกษาและการฝึกอบรมในการจัดการเทคโนโลยี   การจัดการเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการผลิต       การจัดการเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการบริการ  เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีอื่นๆ         การตลาด  การผลิต  และภายหลังการเชื่อมโยงการตลาด  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและโครงสร้างองค์กร      เทคโนโลยีการเงินและการตัดสินใจทางการเงิน                 สาระ  คุณภาพ  และผลผลิต       วีธีการจัดการเทคโนโลยี     การไม่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแนวความคิด  และแนวทางที่เป็นข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเทคโนโลยี  เป็นการประยุกต์ใช้ที่เชื่อมโยงระหว่างวิชาทางวิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์  และการจัดการเข้ามาไว้ด้วยกัน  ผสมผสานบูรณาการแบบองค์รวมให้ผลในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป    การจัดการเทคโนโลยี  เป็นศาสตร์ที่บูรณาการศาสตร์หลายสาขาเข้าด้วยกัน และมีบทบาทในการแสวงหาความเจริญทางเทคโนโลยีหลายด้าน  เช่น  การแข่งขัน  และโอกาสทางธุรกิจ  การพัฒนาระบบการผลิตในงานอุตสาหกรรม  การบริหาร  ตลอดจนการบริหารโครงสร้างองค์กรภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  ดังนั้นหากผู้บริหารประเทศและประชาชนในประเทศร่วมกันส่งเสริม เสริมสร้าง องค์ความรู้ หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างยิ่ง และต้องร่วมกันมุ่งเน้นร่วมมือกันพัฒนาความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี ควรมีการกำหนดนโยบายโดยคำนึงถึงสภาวะที่ต้องแข่งขัน  ระบบสาธารณูปโภครวมถึงการจัดการด้านวิจัยและพัฒนา 

นวัตกรรมคือ สิ่งใหม่ ที่เกิดจาก การใช้ ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม  เป็นกระบวนการการผลิต การเรียนรู้ การจัดการความรู้ หรือการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการกระบวนการผลิตใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม
วิธีการสร้างนวัตกรรม สามารถหลายวิธี เช่น  หาวัสดุมาทดแทน   คิดแบบกลับทาง   จับมารวมกัน    หาวิธีใหม่   เลิกใช้หรือกำจัดออก  จัดแถวจัดกลุ่มใหม่    

ความสำคัญต่อประเทศ
 นวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อประเทศหลายประการดังนี้
1)  การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาการนวัตกรรมด้านต่าง ๆ จะทำให้ประเทศชาติเจริญยิ่งขึ้น เช่น การใช้ใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกรวดเร็ว มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องซักผ้า ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ตัวอย่างการใช้รีโมทเพื่อความสะดวกในการควบคุมโทรทัศน์
2)  การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส  นวัตกรรมจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เช่นเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การกระจายข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้มีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
3)  การเรียนการสอนในสถานศึกษา ในสถานศึกษามีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้   เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษามากขึ้น
4)  การรักษาสิ่งแวดล้อม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีหลาย ๆ ด้าน เช่น เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม   การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่างๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า    โทรมาตร เป็นต้น
5)  การป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยี เช่น อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์  การสื่อสาร อุตสาหกรรม ฯลฯ เช่น ระบบควบคุม ระบบป้องกันภัย และ ระบบเฝ้าระวัง
6)  การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิต เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากและมีราคาที่ถูกลง นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ จะเข้ามามีบทบาทมาก นอกจากนี้ยังมีการใช้นวัตกรรมการจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
7)  ความคิดและการสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ  มีผลกระทบเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สามารถสิ่งเหล่านั้นไปพัฒนาสิ่งต่างๆ ต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ต่อไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากนัก  ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง
สิ่งใดที่มีประโยชน์และความสำคัญ ย่อมต้องมีผลกระทบต่อประเทศชาติและสังคม ทั้งในทางบวก และทางลบ

ผลกระทบในทางบวก
ผลกระทบต่อประเทศชาติและสังคมมีหลายประการซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ผลกระทบนวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีในทางบวกหรือทางที่ดีนั้นมีดังนี้
1) ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน เช่นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มนุษย์รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตราย มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำให้ติดต่อถึงกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว สามารถติดต่อสื่อสารได้ในขณะเดินทางไปยังที่ต่างๆ โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2) ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น ระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตในสมัยปัจจุบันใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง สินค้าที่ได้มีคุณภาพดีและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต การนำพลังงานรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  การจัดการเรื่องโลจิสติกส์  การนำผลิตภัณฑ์เก่าใช้แล้วไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล  และอื่น ๆ อีกมากมาย
3) ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทำให้ประเทศชาติได้มีนักวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นกว่าสมัยก่อน  โดยการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้นคว้าวิจัยมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งแต่ก่อนยากที่จะทำได้ เช่นงานสำรวจทางด้านอวกาศ งานพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆ ทำให้ได้สูตรยารักษาโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันงานค้นคว้าวิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณต่างๆ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูปแบบของสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สามารถค้นหารายงานวิจัยที่มีผู้เคยทำไว้แล้วและที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยด้านต่างๆ มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่อย่างมาก
4) ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยี มาช่วยงานทางด้านการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้าขึ้นอีกมาก ปัจจุบันเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้วแต่ใช้คอมพิวเตอร์และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยในการดำเนินการ ช่วยในการแปลผล มีเครื่องมือตรวจหัวใจที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด มีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจค้นหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่ทันสมัย หรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มีเครื่องมือที่วัดและตรวจสอบสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างละเอียด ระบบการรักษาพยาบาลจากที่ห่างไกล เช่น คนไข้อยู่ที่จังหวัดชายแดนและขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถส่งคำถามมาปรึกษาหารือกับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะได้ มีการรวบรวมความรู้ของแพทย์ผู้ชำนาญการจัดสร้างเป็นฐานความรอบรู้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องมือช่วยคนพิการต่างๆ เช่น การสร้างแขนเทียม ขาเทียม การสร้างเครื่องกระตุ้นหัวใจ สร้างเครื่องช่วยฟังเสียง หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญต่างๆ รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย
5) ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่ทำให้การทำงานต่างๆ รวดเร็ว มีความแม่นยำ และสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ได้มาก การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดี และรวดเร็ว งานบางอย่างถ้าให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลาในการคิดคำนวณตลอดชีวิต แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาจำลองเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหา เช่นการจำลองสภาวะของสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ การจำลองการไหลของของเหลว การควบคุมระบบจราจร หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองในสภาพที่เหมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน การขับรถยนต์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เหมือนจริงได้ หากมีการผิดพลาดก็ไม่ทำให้เกิดอันตราย คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันมีการนำบทเรียนมาไว้ในคอมพิวเตอร์ และให้เรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Instruction : CAI)คอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องมือที่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาสมัยใหม่ เชื่อมโยงติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต สามารถเรียกค้นข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่าย สามารถเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์หรือเรียนจากที่ห่างไกลได้ คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่ทำให้มนุษย์ได้รับข่าวสารมากขึ้นกว่าเดิม และเป็นหนทางที่ทำให้เกิดสติปัญญาอย่างแท้จริง
6) นวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง  ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม กิจการค้าขาย ธุรกิจต่างๆ กิจการทางด้านธนาคาร ช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้กระแสเงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรมจะผลิตสินค้าได้มาก ลดต้นทุน ธุรกิจอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน เกิดระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า อีดีไอ (Electronic Data Interchang : EDI)
7) ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่อโลกให้เล็กลง สังคมโลกมีสภาพไร้พรมแดน มีการเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ดี ทำให้ลดปัญหาในเรื่องความขัดแย้ง
8) ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้ง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระจายข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของระบบประชาธิปไตย แม้แต่การเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผลคะแนน ใช้สื่อโทรทัศน์ วิทยุแจ้งผลการนับคะแนนที่ทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว

ผลกระทบในทางลบ
นวัตกรรมและเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และกว้างขวาง ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยี การประยุกต์ใช้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ไปในด้านต่างๆ  ซึ่งกล่าวในทางลบ เพื่อร่วมกันหาทางป้องกันและแก้ไขต่อไป
1) นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทำให้เกิดอาชญากรรม  เช่นเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนทางในการก่ออาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนปล้น วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักศึกษา การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นในภาพยนตร์
2) ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย เช่นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมส์มีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษย์สัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก อย่างไรก็ดีได้มีงานวิจัยคัดค้านและแสดงความคิดเห็นที่ว่าเทคโนโลยีได้ช่วยให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารถึงกันมากขึ้นและความสัมพันธ์ดีขึ้น
3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่า คอมพิวเตอร์อาจทำให้เกิดการว่าจ้างงานน้อยลง มีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในงานมากขึ้น มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานอาจตกงาน หรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้ โดยความจริงแล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคลากรบางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลนั้นมีการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น
4) ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหายหมด ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง
5) ทำให้มีการพัฒนาอาวุธที่มีอำนาจทำลายสูง ประเทศที่เป็นเจ้าของนวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยี สามารถนำนวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสงครามและมีการสูญเสียมากขึ้น
6) ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญ ดังเช่นการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย การดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่งจดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ จริยธรรมการใช้งานเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปลูกฝังอย่างมาก
7) ทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมถูกทำลายได้ง่าย ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนามาก ข้อมูลก็มีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย เทคโนโลยีทำให้ข้อมูลถูกทำลายได้ง่าย อาจจะถูกทำลายด้วยไวรัสคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่สามารถทำสำเนาตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ สามารถแพร่ไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆ บางชนิดทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง ผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์และจุดประสงค์ของผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น ว่าต้องการให้โปรแกรมทำงานอย่างไร ทั้งนี้เราก็ควรจะปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึกที่ดี ไม่ให้ทำลายข้อมูลผู้อื่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้

ดังนั้นจะขอนำเสนอทางเลือกในการจัดการนวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยี ดังนี้
1.     การจัดการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี
                สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R & D)  โดยมุ่งเน้นพยายามไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ
                มีการป้องกันสิทธิบัตร 
                มีการพัฒนานวัตกรรมเหล่านั้น ให้เป็นสินค้าที่ออกใหม่ 
                การปรับปรุงสมรรถนะและระบบต่าง ๆ ผ่านระบบอัตโนมัติ         
2.   การจัดการด้านการผลิต
                มุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตได้คุณภาพและมีต้นทุนต่ำ 
ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสินทรัพย์อย่างเต็มที่ 
เลือกสถานที่ตั้งโรงงานที่เหมาสะและทำให้ต้นทุนต่ำ 
ส่งเสริมด้านฝีมือแรงงานที่ดีและมีคุณภาพและสนับสนุนอย่างเพียงพอ 
                เสริมสร้างสมรรถนะการผลิตของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงสามารถแข่งขันในตลาดได้ 
                ส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้นทุนถูกและถูกหลักด้านวิศวกรรม 
บริหารจัดการให้เกิดความยืดหยุ่นของการผลิตในช่วงต่างๆ ได้แก่ ขนาดปริมาณการผลิต และตามที่ลูกค้าสั่ง 
3.   การจัดการด้านช่องทางจำหน่าย
สร้างโครงข่ายช่องทางจำหน่ายทางการค้าทั้งค้าส่งและค้าปลีกที่แข็งแรง 
                จัดการบริหารต้นทุนการกระจายสินค้าให้มีค่าใช้จ่ายต่ำ 
จัดการด้านการส่งมอบสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้องและรวดเร็ว
 4.   การจัดการด้านการตลาด
ให้คำปรึกษาทางเทคนิคที่แม่นยำและรวดเร็ว 
                บริการลูกค้าด้วยความสุภาพอ่อนโยนเอื้อเฟื้อ 
การระบายสินค้าและการเลือกผลิตภัณฑ์และบริการ
จัดการเรื่องการบรรจุผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของลูกค้าและสามารถเพิ่มกำไรได้มากขึ้น
                 มีการรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการให้ลูกค้า 
จัดการด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างชาญฉลาด
5.  การจัดการด้านบุคลากร
ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมและฝึกฝนให้มีความรู้เทคนิคเฉพาะทางการควบคุมคุณภาพ 
ส่งเสริมและฝึกฝนความชำนาญเทคโนโลยีเฉพาะทาง 
ส่งเสริมแลฝึกฝนให้มีความสามารถในการค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ของผลิตภัณฑ์ หรือบริการอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมให้นำ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย ออกสู่ตลาดเพื่อให้เกิดรายได้
6. การจัดการด้านองค์กร
สร้างระบบการสื่อสารให้ทันสมัยเพื่อให้มีการติดต่อ สื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ   
สร้างผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในการปรับตัวเข้าสู่ตลาดที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว  สามารถ คิดและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 
สร้างการกระจายผลิตภัณฑ์และบริการในช่องทางใหม่ ๆ เช่น สร้างระบบการค้าผ่านอินตอร์เน็ต (E Commerce)   

                 
7. สร้างระบบการบริหารงานและจัดการในสมัยใหม่ โดยคำนึงถึงเรื่อง ดังนี้
                1. บูรณภาพ (Integrity)   คือ กลุ่มของคุณค่าที่นำทางเราทั้งหมดตลอดเวลา เป็นการทำสิ่งที่ถูกต้อง
2. การเปลี่ยนแปลง (Change)           จงคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดีอยู่เสมอ  การเปลี่ยนแปลงจะสร้างโอกาสทุกวินาที ไม่ใช่วิกฤติที่สร้างโอกาสให้เรา ทำการเปลี่ยนแปลงให้เป็นพลังที่กระตุ้นเหตุการณ์ให้เกิดขึ้น
                3. ลูกค้า (Customer)   ต้องให้ความสำคัญ และให้ ความสนใจและต้องสร้างความพึงพอใจของลูกค้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ  ให้ยึดคำมั่นข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกค้ากับตารางเวลาที่จะส่งสินค้า  
                4. สร้างขนาดและโครงสร้างให้เหมาะสม (Size and Structure) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและต้นทุนต่ำ เพื่อจะได้สามารถแข่งขันได้ในตลาด
                5. ความมั่นใจ อย่างเรียบง่ายและรวดเร็ว (Self-confident, Simplicity and Speed)  สร้างความมั่นใจ โดยให้โอกาสทดลองพยายามที่มีความเสี่ยง และเอาชนะ  ทำให้มันเรียบง่ายในความคิดและการกระทำ
                6. ภาวะผู้นำ (Leadership)   สร้างภาวะผู้นำ – จงวัดตัวคุณเองด้วย 4 “E’s”
* Energy พลังที่จะรับมือ ต่อสู้ จัดการ แก้ปัญหาในยุคโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก
* Energizing ความสามารถที่จะกระตุ้นองค์กรอย่างมีพลัง
* Edge มีเหลี่ยมพอที่จะขยับขับเคลื่อนนโยบายที่แสนยากโหดร้าย
* Execution มีทักษะกระตุ้นทำสิ่งให้เกิดขึ้นได้ง่าย
7. ส่งเสริมการอบรม (Training)        จัดการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและให้เป็นความรู้สากล  
8. พัฒนาบุคลากร (People) อย่างต่อเนื่อง
9. ความไม่เป็นทางการ (Informality)   เป็นประโยชน์ด้านการแข่งขันอันยิ่งใหญ่   
10. องค์กรที่เรียนรู้โลก (Global Learning Company)  เพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ ๆ ในการพัฒนานวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อนำสู่ตลาดเพื่อก่อให้เกิดรายได้ และนำรายได้เหล่านั้นบางส่วนมาเข้ากระบวนกันพัฒนานวัตกรรม ต่อไป
จะเห็นว่า ผลกระทบนวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยี มีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างยิ่ง และมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ พวกเราทุกคนควรมีส่วนร่วมกันการสร้างสรรค์และพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผู้เขียนขอนำเสนอแนวทางเลือกในการจัดการนวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีไว้ในแง่มุมต่าง ๆ  ซึ่งในมุมมองของการบริหารและการจัดการนั้น เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ควรดำเนินการไปด้วยกัน อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และต้องมีการประเมินทุก ๆ ระยะเวลา เพื่อทบทวนผลว่า แนวทางเลือกต่าง ๆ เหล่านี้ ข้อใดเหมาะสมที่จะนำไปใช้ต่อไปหรือไม่อย่างไร  ซึ่งหากมีการพัฒนา อย่างสร้างสรรค์ต่อเนื่องและสม่ำเสมอแล้ว ผลที่ได้ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและพวกเราต่อไป
                                                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น