นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความรู้พื้นฐานการผลิตสื่อ

ในการพัฒนาสื่อการสอนนั้น เราสามารถทำการพัฒนาได้ 2 ด้านด้วยกัน คือ 


1. การพัฒนาด้านการผลิตสื่อการสอน
 จะต้องพัฒนากันเป็นอันดับแรก เพราะเป็นขั้นตอนที่เป็นพื้นฐาน และสภาพปัจจุบันเป็นปัญหาสำหรับครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่ง 


2. การพัฒนาด้านการใช้สื่อการสอน
 เป็นขั้นหลัง ซึ่งครู อาจารย์จะมีปัญหาน้อยกว่า เพราะส่วนใหญ่จะได้รับการฝึกอบรมมาบ้างแล้วจากสถาบันการศึกษาต่างๆ การพัฒนาทั้ง 2 ด้านที่กล่าวมานั้น จะต้องกระทำควบคู่และสอดคล้องกันอย่างกลมกลืน จึงจะทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสมบูรณ์ วิธีการที่ดีที่สุดในการได้มาซึ่งสื่อการสอนก็คือ ควรจะมีการผลิตขึ้นใช้เอง เพื่อให้ได้สื่อการสอนที่ดี ตรงวัตถุประสงค์กับการสอนและความต้องการของผู้ใช้



การผลิตสื่อการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน
สื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการกระบวนการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะตามมาตรฐานของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ                   สื่อการเรียนรู้มีหลากหลายประเภท ทั้งสื่อธรรมชาติ  สื่อสิ่งพิมพ์    สื่อเทคโนโลยี และเครือข่าย                 การเรียนรู้ต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น  การเลือกใช้สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการ และลีลาการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน   การจัดหาสื่อการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาขึ้นเอง  หรือปรับปรุงเลือกใช้อย่างมีคุณภาพจากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวเพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมและสื่อสารให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้    โดยสถานศึกษาควรจัดให้มีอย่างพอเพียง เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน            เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  สถานศึกษา  เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ควรดำเนินการดังนี้ 

                ๑.  จัดให้มีแหล่งการเรียนรู้  ศูนย์สื่อการเรียนรู้  ระบบสารสนเทศการเรียนรู้ และเครือข่าย
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน  เพื่อการศึกษาค้นคว้าและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างสถานศึกษา  ท้องถิ่น ชุมชน สังคมโลก

                ๒.  จัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน  เสริมความรู้ให้ผู้สอน   รวมทั้งจัดหาสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้

                ๓.  เลือกและใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  มีความเหมาะสม  มีความหลากหลาย สอดคล้อง          กับวิธีการเรียนรู้ ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

                ๔.  ประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ที่เลือกใช้อย่างเป็นระบบ 

                ๕.  ศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

                ๖.  จัดให้มีการกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพเกี่ยวกับสื่อและการใช้สื่อ
การเรียนรู้เป็นระยะๆ และสม่ำเสมอ

ในการจัดทำ การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในสถานศึกษา                       ควรคำนึงถึงหลักการสำคัญของสื่อการเรียนรู้ เช่น ความสอดคล้องกับหลักสูตร  วัตถุประสงค์การเรียนรู้  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เนื้อหามีความถูกต้องและทันสมัย 
ไม่กระทบความมั่นคงของชาติ ไม่ขัดต่อศีลธรรม  มีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง  รูปแบบการนำเสนอที่เข้าใจง่าย  และน่าสนใจ 

 ล่งการเรียนรู้  ศูนย์สื่อการเรียนรู้  ระบบสารสนเทศการเรียนรู้ และเครือข่าย
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน  เพื่อการศึกษาค้นคว้าและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างสถานศึกษา  ท้องถิ่น ชุมชน สังคมโลก
                ๒.  จัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน  เสริมความรู้ให้ผู้สอน   รวมทั้งจัดหาสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้
                ๓.  เลือกและใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  มีความเหมาะสม  มีความหลากหลาย สอดคล้อง          กับวิธีการเรียนรู้ ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
                ๔.  ประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ที่เลือกใช้อย่างเป็นระบบ 
                ๕.  ศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
                ๖.  จัดให้มีการกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพเกี่ยวกับสื่อและการใช้สื่อ
การเรียนรู้เป็นระยะๆ และสม่ำเสมอ
ในการจัดทำ การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในสถานศึกษา                       ควรคำนึงถึงหลักการสำคัญของสื่อการเรียนรู้ เช่น ความสอดคล้องกับหลักสูตร  วัตถุประสงค์การเรียนรู้  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เนื้อหามีความถูกต้องและทันสมัย
ไม่กระทบความมั่นคงของชาติ ไม่ขัดต่อศีลธรรม  มีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง  รูปแบบการนำเสนอที่เข้าใจง่าย  และน่าสนใจ 

การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา

"เทคโนโลยีการศึกษา"หมายถึง การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวัง ให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ


อิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา บทบาทของเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารได้ส่งผลต่อกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโลก อย่างที่ Peter Drucker ได้กล่าวว่า “ความรู้ไม่มีพรมแดน” (Knowledge knows no boundaries) และด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้นักคิดอย่าง Don Tapscott ระบุคุณลักษณะของเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ของโลกตั้งแต่สังคมบนพื้นฐานของระบบดิจิตอล (Digitization) ไปจนถึงความเป็นโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทั้งนี้โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวจักรสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงนี้

ศาสตราจารย์ จอห์น โดโนแวน (Donovan) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของระบบอินเทอร์เน็ตว่า เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง  นอกจากนี้ บิล เกตส์ (Bill Gates)แห่งไมโครซอฟต์ ซึ่งมองเห็นคุณค่ามหาศาลของโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่ข้อมูลความรู้จากทั่วทุกมุมโลกต่างเชื่อมโยงถึงกันผ่านทางด่วนสารสนเทศซึ่งจะอำนวยผลประโยชน์แก่วงการศึกษา ส่วนสังคมใดจะได้ประโยชน์มากน้อยจากกระแสของโลกาภิวัตน์นี้ ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อม และกลไกการพัฒนา การเข้าถึงของสังคมนั้นๆ ในทางตรงกันข้าม กระแสโลกาภิวัตน์สามารถส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมที่ขาดความพร้อม ในการพัฒนา การเข้าถึง รวมถึงพื้นฐานของสังคมที่ยังขาดความเข้าใจและความเข้มแข็งด้านเทคโนโลยีได้เช่นเดียวกัน กลไกการจัดการเรียนรู้หรือการศึกษาภายใต้สังคมทางเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ปัจจัยสำคัญ อยู่ที่ 2 ส่วนหลักๆ ก็คือ ระบบ และ เครื่องมือ 

ในบทนี้เราจะมาศึกษาในส่วนของ เครื่องมือและอุปกรณ์ ทางเทคโนโลยีทางการศึกษา กัน
ประเภทของเครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีการศึกษา แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้ 
1. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการนำเสนอ
2. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้
3. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการบริหารจัดการเครือข่าย
4. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการบริหารข้อมูลและหลักสูตร

1. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการนำเสนอ
ลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ประเภทนี้จะเป็นได้ทั้งส่วนสื่อหลักซึ่งสามารถถ่ายทอดสาระการเรียนรู้ได้โดยตรง ในรูปของนิทรรศการ และส่วนสนับสนุน เพื่อให้เกิดการศึกษาหรือการเรียนรู้ ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งผ่านหรือแสดงส่วนขยายข้อมูลไปยังเป้าหมายในรูปของเสียง หรือภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว
ในส่วนของเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการนำเสนอ ในส่วนนี้ประกอบด้วยเครื่องมือหลายประเภท อาทิ

ประเภทเครื่องเสียง : 
ได้แก่ เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่น CD / DVD เครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง ไมโครโฟนและชุดลำโพง โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น 

ประเภทเครื่องฉาย : 
ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector), เครื่องฉายภาพยนตร์(Film Projector), เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ(Overhead projector), เครื่องฉายวัสดุทึบแสง(Visualizer), เครื่องฉายวิดีทัศน์(video projector), Plasma TV, LCD TV

ประเภทนิทรรศการ : 
ด้วยเทคโนโลยีทางการพิมพ์ภาพลงบนวัสดุพลาสติกที่เรียกว่า Vinyl Inkjet สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ และมีราคาถูกลง รวมถึงการออกแบบก็กระทำได้โดยง่ายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้สื่อรูปแบบนิทรรศการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันการเผยแพร่ความรู้ การจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ได้พึ่งพาอุปกรณ์การนำเสนอประเภทนี้นำมาจัดร่วมกันในรูปแบบของนิทรรศการ ได้แก่ ป้าย บอร์ด pop-up, roll up, Exhibition Set เป็นต้น

การที่จะให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ผ่านเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการนำเสนอ จะต้องมีตัวสื่อหรือข้อมูลนำเข้าเป็นหลัก ซึ่ง อาจจะอยู่ในรูป CD-Rom DVD หรือเทปเสียง หรือตัวบุคคล เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการนำเสนอจะเป็นส่วนขยายหรือ ส่งผ่านข้อมูลไปปรากฏ ยังสถานที่หรือตำแหน่งต่างๆในพื้นที่หรือบริเวณที่ได้กำหนดไว้
นอกจากนี้จะมีวัสดุที่ใช้ร่วมกับเครื่องมือในรายการข้างต้นอยู่หลายรายการ อาทิ สายต่อพ่วงระบบเสียงต่างๆ ชุดต่อระบบไฟฟ้า วัสดุยึดเชื่อมต่อชุดนิทรรศการ เป็นต้น


2. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ในส่วนของเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ ที่อยู่ในกรอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในอดีตเราใช้วิทยุ โทรทัศน์รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ อาทิ เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นเทปวิดีทัศน์ ต่อมาเมื่อยุคคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงราคาถูกลง สื่อคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปของ CD-Rom และ DVD เป็นส่วนใหญ่ราคาถูกลงอย่างมาก อีกทั้งเทคโนโลยีของเว็บได้เป็นบันไดพาไปสู่สังคมการเรียนรู้ที่ ยิ่งใหญ่นั่นคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่โยงใยทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน

สรุปได้ว่าปัจจุบันเรายังใช้รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ ผ่านเครื่องรับเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ เรามีสื่อบนแผ่น CD-Romและ DVD ในรูปของ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อรายการวิดีทัศน์ หรือสื่อเสียง ที่ใช้กับเครื่องเล่น VCD และ DVD ทำให้ เครื่องเล่นเทปเสียง และเครื่องเล่นเทปวิดีทัศน์ ต่างก็ค่อยๆหายไป จากโลกของสื่อ

3. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการบริหารจัดการเครือข่าย
ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยสำคัญในการจัดการศึกษานั่นคือการเข้าถึงมวลความรู้ที่มีอยู่มากมายมหาศาลในโลกของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ที่จำเป็นมีหลากหลายประการ อุปกรณ์หลักได้แก่ ชุดคอมพิวเตอร์ ส่วนเครื่องมือในการบริหารและจัดการเครือข่าย จะมีอยู่ใน 2 ลักษณะ คือลักษณะของผู้ใช้งานระบบ กับลักษณะของผู้ให้บริการและผู้บริหารการศึกษา/เรียนรู้ 

ในส่วนของผู้ใช้งานระบบที่เห็นได้ชัดนอกจากชุดคอมพิวเตอร์แล้วต้องมี ส่วนเชื่อมต่อสัญญาณ หรือที่เรียกว่า Modem (ที่ปัจจุบัน มีใช้กันน้อยลง ซึ่งจะเป็นระบบ ADSL เป็นส่วนใหญ่) หรือระบบ network หรือ ส่วนจัดการเครือข่าย เป็นต้น

4. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการบริหารข้อมูลและหลักสูตร
ในการดำเนินการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยสำคัญก็คือข้อมูลการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร สื่อประกอบการเรียนรู้ สาระเนื้อหารายวิชา กลไกที่จะดูแลในการนำข้อมูลเหล่านี้นำมาให้บริการ หรือ ให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีระบบบริหารและจัดการข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีคุณภาพ ในการจัดระบบบริหารข้อมูล 

ปัจจุบันกลไกวิธีการแบบนี้ จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินการ ซึ่งจะอยู่ในรูปของโปรแกรมนำมาวางเป็นระบบที่เรียกว่าระบบบริหารจัดการข้อมูล หรือหลักสูตร ซึ่งส่วนใหญ่ จะรู้จักกันในชื่อของ CMS



ขอขอบพระคุณสำหรับข้อมูลจาก :http://teacher80std.blogspot.com/2012/05/38.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น