วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี



ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

การออกแบบ (Design) การนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาวางแผน จัดเป็นกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง โดยให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาที่นำมาใช้ในการเรียน

การออกแบบมีองคืประกอบดังนี้
1.1 การออกแบบระบบการสอน
1.2 ออกแบบสาร
1.3 กลยุทธ์การสอน
1.4 ลักษณะผู้เรียน

การพัฒนา (Development) คือ การเปลี่ยนแปลงและแก้ไขการออกแบบ  เพื่อให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้เกิดทักษะทางกระบวนการเรียนการสอนที่ใหม่ๆ

การใช้ (Unillization) คือ การนำกระบวนการผลิตและออกแบบ การพัฒนาสื่อในรูปแบบต่างๆที่ได้สร้างขึ้นมา มาใช้ในการเรียนการสอนจริง

ประเภทของการใช้
-การใช้สื่อ
-การแพร่กระจายนวัตกรรม
-วิธีการนำไปใช้และการจัดการ
-นโยบาย หลักการและกฏระเบียบข้อบังคับ

การจัดการ (Management) คือ การวางแผน การควบคุม การจัดการสื่อและกระบวนการใช้สื่อทางเทคโนโลยีการศึกษา ให้เป้นแบบแผน ควรใช้ในสื่อรูปแบบใด เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประเภทของการจัดการ
-การจัดการโครงการ
-การจัดการแหล่งทรัพยากร
-การจัดการระบบส่งถ่าย
-การจัดการสารสนเทศ

การประเมิน (Evaluation)  เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำงานทุกประเภท เมื่อมีการสร้างงานที่เกิดขึ้นเราต้องมีการประเมินหาผลสรุปจากงานที่เราสร้างขึ้น กระบวนการขั้นตอนต่างๆที่ผ่านการออกแบบและพัฒนา ตลอดจนการนำมาใช้ว่าได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

องค์ประกอบในการประเมิน
-การวิเคราะห์ปัญหา
-เกณฑ์การประเมิน
-การประเมินความก้าวหน้า
-การประเมินผลสรุป

องค์ประกอบของเทคโนโลยีทางการศึกษา


1. บุคลากร เป็นองค์กรที่สำคัญมาก เพราะบุคลากรเป็นผูที่ดำเนินงานในกระบวนการเทคโนโลยีการศึกษาทั้งหมด

2. การเรียนรู้  ประกอบด้วย

-วัสดุ คือ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาเป็นองค์ประกอบในกระบวนการสืบค้นหาข้อมูลหรือสิ่งต่างๆที่เรามาประกอบในการทำงาน

-เครื่องกลไก คือ กระบวนการในการทำงาน การสืบค้นหาข้อมูล

-เทคนิค คือ ในการเรียนรู้ การทำงานตามกระบวนการต่างๆ ต้องมีเทคนิคในการทำงานวางแผน กำหนดขอบเขต เนื้อเรื่องที่จะสืบหาข้อมูล

-อาคารสถานที่ คือ องค์ประกอบหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของเทคโนโลยีการศึกษา ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีสถานที่ในการเรียนการสอน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อทางเทคโนโลยี

-เนื่อหาวิชา คือ ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจในเนื้อหา ที่ผู้สอนนำมาสอนเพื่อเกิดความรู้ที่ใหม่ๆและควรหาความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้เรียนมาในห้องเรียน

3. การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้  คือ การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลง แหล่งการเรียนรู้ให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

-3.1 การวิจัย คือ การค้นคว้าหาข้อมูลกระบวนการในการศึกษาอย่างมีหลักการเพื่อให้ได้ความรู้ที่เป็นจริง มีเหตุผล

 - เป็นกระบวนการที่มีระบบ
- มีจุดมุ่งหมายที่แน่นนอนและชัดเจน
- ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง
- มีหลักเหตุผล
- บันทึกและรายงานออกมาอย่างระมัดระวัง

3.2 การออกแบบ คือ การคิดค้น การสร้างสิ่งใหม่ๆที่มีแบบแผนขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างงานให้มีประสิทธิภาพ

3.3 การผลิต คือ การคิด สร้างสรรค์ ผลงาน สื่อ  สิ่่งต่างๆขึ้นมาใหม่ตามแนวคิดของผู้ออกแบบการสร้างงาน

3.4 การประเมิน คือ การหาข้อสรุป เกี่ยวกับงานที่สร้างขึ้น เพื่อประเมินว่ามีความสำเร็จมากน้อยเพียงใด และมีข้อบกพร่องในด้านใด 

3.5 การให้ความช่วยเหลือ คือ การช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆที่ผู้ประสบปัญหาต้องการให้บุคคลอื่นมาช่วยเหลือ

3.6 การใช้ คือ การนำกระบวนการออกแบบ การผลิต และการพัฒนาสื่อต่างๆการนำความรู้ที่ได้สืบค้นมาใช้ในการเรียนการสอนจริง

4. การจัดการ คือ การวางแผน ควบคุม จัดการสื่อให้เป็นแบบแผน วิธีการ กระบวนการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาประกอบการเรียน เพื่อให้เกิดระเบียบแบบแผน

4.1 การจัดการเกี่ยวกับหน่วยงานหรือองค์กร คือ การวางแผนและควบคุม การปฏิบัติงานของหน่วยงานหรืองค์กรให้เป็นไปตามหลักการ

4.2 การจัดการเกี่ยวกับบุคคล คือ การเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากร ผู้สอนต้องมีความพร้อมทั้งในเนื้อหาความรู้ในเรื่องที่จะสอนในด้านบุคลิกภาพ ผู้เรียนต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา



เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษาส่งผลโดยตรงกับการจัดการศึกษา ทำให้ระบบการจัดการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น สนองในเรื่องความแตกต่างในระดับบุคลที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาได้ ทั้งยังส่งผลให้มีการจัดการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิธีการทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการพิสูจน์ ทดลองใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสรุปที่ถูกต้องและได้ผลจริง

ประโยชน์เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา


- สามารถทำให้การเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
- สามารถสนองเรื่องความแตกต่างแต่ละบุคลได้
- สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาสาสตร์
- ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
- สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
- ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา

หมายถึง  การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  ทั้งวัสดุ  อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษาตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

นวัตกรรม คือ จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี เพราะนวัตกรรมหมายถึงสิ่งใหม่ๆที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย ที่ยังไม่ได้นำเข้ามาในการใช้ในระบบงานอย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญในเรื่องของวิธีการการจัดระบบจึงอาจแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

เป้าหมายของนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา

1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้

- คน
- วัสดุและเครื่องมือ
- เทคนิค-วิธีการ
- สถานที่

2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล

3. การใช้วิธีการวิเคราะห์ระบบในการศึกษา

4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอปกรณ์ทางการศึกษา



นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

- การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน
- การใช้ไอซีทีเพื่อบูรณาการการเรียนการสอน
- การเรียนกับธรรมชาติสภาพแวดล้อม การเรียนรู้เชิงเสมือน
- การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
- การเปลี่ยนแปลงเป็นสถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา


  1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนโดยให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจและความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
  2. ความพร้อม (Readiness)  นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่  ศูนย์การเรียนรู้ การจัดโรงเรียนในโรงเรียน 
  3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์
  4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา

-ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
-ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
-ช่วยให้บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
-ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
-ช่วยลดเวลาในการสอน
-ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น