วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information  Technology)


           อุปกรณ์เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ฐานข้อมูล การสื่อสารโทรคมนาคม



ความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ


           ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ โดยอยู่ ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล

           
           สารสนเทศ (Information)  หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ ปัญหาต่าง ๆ ได้



องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์


ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer-based information system CBIS )
 มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ


 


- ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น



 -ซอฟต์แวร์ (Software) บางครั้งเรียกว่าโปรแกรม หรือชุดคำสั่งวัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน คือการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information)

       Database  คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลเกี่ยวข้องกัน
 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 
 1. ซอฟต์แวร์ปฏิบัติการ ได้แก่ แอนดรอย
 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ได้แก่ Microsoft office 




- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่องโยงคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยในการติดต่อสื่อสาร
   



กระบวนการทำงาน (Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธภาพ



-บุคคล (People) บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น 




เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (Information  Technology)






เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  (Computer Technology)


ประเภทของระบบคอมพิวเตอร์ จำแนกออกเป็น 4 ชนิด  พิจารณาจากความสามารถในการเก็บข้อมูล และความเร็วในการประมวลผลเป็นหลัก ดังนี้

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)


         เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)



         เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง 


มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)



         มีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)




        เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)ปัจจุบัน 

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
  2. แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์


  •     ลูกคิดถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องคอมพิวเตอร์เพราะมีหลักการคำนวณ
  •   เครื่องจักรทอผ้า แมคคาทอนิค 

  


คอมพิวเตอร์ยุคแรก





อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

       
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง



คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน



คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม



  



คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหย่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง


คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่
 

คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง


คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า

  

เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง


อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น  (Introduction to Internet)


         


            อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมลล์ เว็บบอร์ด  และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
  

ประวัติความเป็นมา 

อินเตอร์เน็ต
            เป็นโครงการของ ARPA net เป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1960 ทดลองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยคอลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยพัฒนาโดนการนำภาษาเข้ามาใช้


อินทราเน็ต
           คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในองค์กรเดียวกัน ภายใต้มาตราฐาน (Protocol) ของอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็คือ TCP/IP เพื่อสร้างระบบการสื่อสารและการทำงานร่วมกันภายใต้องค์กร


เอ็กทราเน็ต


           คือ เครือข่ายที่เชื่อมระหว่างองค์กรต่างๆ ที่มีอินทราเน็ต (Intranet) เข้าด้วยกันซึ่งองค์กรต่างๆ ที่เชื่อมอินทราเน็ต สามารถแชร์ข้อมูลภายในได้ตลอดระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตของตนกับบริษัทคู่ค้าได้อย่างปลอดภัยและประหยัด

ระบบชื่อโดเมน  ( Domain-Name Server )

ระบบชื่อโดเมน เป็นระบบการแทนชื่อในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ผู้ใช้สามารถจำได้ง่าย โดยระบบชื่อโดเมนจะประกอบด้วยชื่อหรือชุดของตัวอักษรเป็นกลุ่มๆ โดยใช้เครื่องหมายจุดเป็นตัวแบ่งกลุ่ม เช่น

cs.ait.ac.th www.intel.com ftp.ai.mit.edu gother.tc.umn.edu
โครงสร้างของระบบชื่อโดเมนจะมีลักษณะเป็นลำดับชั้น โดยแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า โดเมนย่อย
(Sub-domain) โดเมนย่อยที่อยู่ทางซ้ายมือจะถือเป็นเป็นส่วนย่อยของโดเมนที่อยู่ทางขวา มือตามลำดับ โดยโดเมนที่อยู่ทางขวามือสุด มีชื่อเรียกว่า "โดเมนระดับบนสุด (Top Level Domain)" ซึ่งจะกำหนดให้เป็นชื่อย่อของประเทศหรือประเภทขององค์กร แล้วมีลำดับลดลงมาจนถึงโดเมนซ้ายสุดเป็นชื่อเครื่องที่ให้บริการ
โดเมนระดับบนสุดในยุคเริ่มต้นอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้เพียงในประเทศสหรัฐอเมริกาและ แคนาดา

มี6 กลุ่ม ได้แก่
1. com (Commercial Organizations) คือกลุ่มธุรกิจการค้า
2. edu (Educational Organizations) คือสถาบันการศึกษา
3. gov (Government Organizations) คือหน่วยงานรัฐบาล
4. mil (Military Organizations) คือหน่วยงานทางทหาร
5. net (Networking Organizations) คือหน่วยงานที่เกี่ยวกับเครือข่าย
6. org (Non-commercial Organizations) คือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

ต่อมาหลายๆ ประเทศได้ทำการเชื่อมเครือข่ายเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงมีการใช้โดเมนระดับบนสุดแทนด้วยอักษรย่อของประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น


สำหรับโดเมนระดับบนสุดที่มีการระบุประเทศไว้นั้น จะมีโดเมนย่อยซึ่งสามารถแบ่งประเภทหน่วยงานย่อยลงไปอีกยกตัวอย่างเช่น
co.it แทน บริษัทในประเทศอิตาลี
ac.au แทน สถาบันการศึกษาในออสเตรเลีย
or.th แทน องค์กรไม่หวังผลกำไรในประเทศไทย
go.jp แทน หน่วยงานรัฐบาลในประเทศญี่ปุ่น
การเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยระบบชื่อโดเมนนั้นมีประโยชน์ในแง่ของการจดจำง่ายสำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วๆ ไปแต่สำหรับการทำงานในระดับคอมพิวเตอร์ด้วยกันแล้วก็ยังอาศัยการอ้างอิงตามระ-บบ หมายเลขไอพีอยู่เช่นเดิม

        


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น