วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความแตกต่างระหว่างแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory)


ความหมายกลุ่มปัญญานิยม

ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง
ทฤษฎีปัญญานิยมนี้ เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ไม่เห็น ด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดา ของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์มนุษย์ไว้ว่า เป็นเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคํานึงถึงความแตกต่างภายในของ มนุษย์ด้วย

ความแตกต่างระหว่างแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยม
เวสท์และคณะ (West and Others, 1991) ได้เสนอถึงความแตกต่างระหว่างทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยมไว้ดังนี้

1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นในเรื่องของพฤติกรรมหรือการกระทําภายนอกซึ่ง
สามารถสังเกตได้ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมุ่งเน้นถึงสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์

2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งชี้ความสําคัญขององค์ประกอบย่อย ๆ แต่ละส่วนจากส่วน
หนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งและจากส่วนประกอบต่าง ๆ ไปสู่ภาพรวมหรือวัตถุประสงค์รวมในที่สุด
ในทางกลับกันนั้น ทฤษฎีปัญญานิยมพยายามชี้ในภาพรวมเป็นหลัก จากภาพรวมหรือวัตถุ
ประสงค์รวมไปสู่ส่วนประกอบและตามด้วยการมองจากส่วนประกอบต่าง ๆ ไปสู่ภาพรวมหรือ
วัตถุประสงค์รวมอีกครั้งหนึ่ง

3. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นสิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถจับต้องได้ ในขณะที่ทฤษฎี
ปัญญานิยมมุ่งเน้นในสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งไม่สามารถจับต้องได้

4. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของความรู้ของมนุษย์ในลักษณะ ของ
สิ่งที่มีอยู่แล้วและรอให้มนุษย์ค้นพบและเรียกกลับมาใช้ใหม่ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมีความ
เชื่อเกี่ยวกับเรื่องของความรู้ในลักษณะของสิ่งที่มนุษย์จําเป็นต้อง สร้างให้เกิดขึ้นและหากต้องนํา
ความรู้กลับมาใช้อีกก็จําเป็นจะต้องมีการสร้างขึ้นมาใหม่

5. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเปรียบเทียบกับจิตใจมนุษย์เป็นเสมือนโรงงานประกอบชิ้น
ส่วนต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงความเชื่อที่ว่าสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์นั้นเกิดจากการ ประกอบขึ้นของ
มนุษย์นั่นเอง ไม่มีความสลับซับซ้อน ชิ้นส่วนในการประกอบเป็นอย่างไรผลผลิตที่ได้ก็จะเป็น
เช่นนั้น ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมเปรียบเทียบจิตใจเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์ซี่งหมายถึง ความ
เชื่อที่ว่าสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์นั้นเกิดจากการประมวลผลภายในซึ่ง มีการทํางานที่สลับซับ
ซ้อนและยากแก่การทําความเข้าใจ

6. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นในผลลัพธ์ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมุ่งเน้นในกระบวนการ

ตารางสรุปความแตกต่างของแนวความคิดระหว่างพฤติกรรมนิยม และปัญญานิยม

พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ปัญญานิยม (Cognitivism)
- เรื่องของการกระทําภายนอก (Behavior) - เรื่องของภายในจิตใจ (Internal
Representtation)
- องค์ประกอบ (Parts) - ภาพรวม (Wholes)
- ความรู้เป็นสิ่งที่ค้นพบและเรียกกลับขึ้นมาใช้ (Information a discovery / retrieval) - ความรู้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นและสร้าง ขึ้นมาใหม่ (Information as construction /reconstruction)
- จิตใจเป็นเสมือนโรงงาน (Mind is an assembly line) - จิตใจเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์ (Mind is a computer)
- ผลลัพธ์ (Outcomes) - กระบวนการ (Process)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น